อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nation Education Science and Culture Organization หรือ องค์การยูเนสโก (UNESCO) ประกาศให้เป็น “มรดกโลก” เมื่อปี พ.ศ. 2535
โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดมหาธาตุ วัดตระพังเงิน วัดชนะสงคราม วัดสระศรี วัดตะกวน วัดศรีชุม พระอัฏฐารศ พระอัจนะ ฯลฯ
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ได้รับการประกาศเป็น “เขตอุทยานประวัติศาสตร์” มีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานรวมทั้งสิ้น 1,810 ไร่ ในปี พ.ศ. 2519 กรมศิลปากรได้ประกาศให้เขตพื้นที่ภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1,810 ไร่ เป็น “เขตโบราณสถาน” องค์การยูเนสโก (UNESCO) ประกาศให้เป็นมรดกโลก พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 2535
โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง วัดในพระพุทธศาสนา ได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดมหาธาตุ วัดไชยวัฒนาราม วัดราชบูรณะ วัดมเหยงค์ วัดใหญ่ชัยมงคล วัดภูเขาทอง วัดมงคลบพิตร ฯลฯ
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ต.ตาแป๊ด อ.นางรอง ติดต่อกับอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง สร้างขึ้นตามนัยของศาสนสถาน เป็นตัวอย่างสุดท้ายของศาสนสถานเขมร บนยอดเขาเหนือดินแดนเขมรสูงในพื้นที่ของไทย ลักษณะศิลปะ สถาปัตยกรรมของศาสนสถานแห่งนี้ แสดงให้เห็นว่า ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยของพระศิวะ สร้างขึ้นด้วยฝีมือช่างหลวง ฯลฯ
ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมหินทรายและศิลาแดง ห้าหลัง สี่ชาลา หนึ่งทางเดิน ระเบียงคด และกำแพงล้อมรอบ รวมทั้งซากของฐานอาคารที่ก่อด้วยอิฐอีกสองหลัง
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดมหาธาตุนครชุม วัดพระแก้ว วัดช้างรอบ ป้อมและประตูเมืองกำแพงเพชร
วัดเก่ายุคสุโขทัยอื่น ๆ ได้แก่ วัดธาวาสใหญ่ วัดสี่อิริยาบถ หรือ ดมณฑปสี่หน้า เมืองไตรตรึงส์ ฯลฯ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
เมืองศรีเทพอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ 107 กม.
โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ ปรางค์สองพี่น้อง ปรางค์ศรีเทพ เขาคลังใน (เป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติของคนในสมัยโบราณ) สระแก้วสระขวัญ น้ำในสระถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณกาล
โบราณวัตถุอื่น ๆ ได้แก่ พระธรรมจักร เมืองศรีเทพ หลักศิลาจารึก ซึ่งมีรูปร่างคล้ายตะปูหัวเห็ด จารึกอักษรคฤนถ์ เข้าใจว่าเป็นหลักเมืองศรีเทพ แท่งศิลาจารึกสลักลวดลายอย่างเดียวกับที่เมืองพิมาย ศิวลึงค์ เทวรูป รูปยักษ์ เทพารักษ์ และระฆังหิน ฯลฯ
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ ปราสาทหินพิมาย ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ในเขต อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นปราสาทขอมที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างไปจากปราสาทขอมอื่น ๆ ซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ปราสาทหินพิมาย ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างและบรรดาอาคารต่าง ๆ รวมทั้งกำแพงสองชั้น คือ กำแพงชั้นนอกและชั้นใน ปรางค์องค์ใหญ่ตั้งอยู่กลางเป็นปรางค์ประธาน ประตูเข้าจากองค์ปรางค์มีทั้งสี่ทิศ ถัดออกไปเป็นระเบียงคด และกำแพงล้อมอยู่สองชั้นดังกล่าวแล้ว สิ่งที่ก่อสร้างอื่น ๆ ได้แก่ สระน้ำที่อยู่สี่มุม หอไตร (บรรณาลัย) และหอพราหมณ์ นอกกำแพงทางประตูซุ้มด้านใต้มีคลังเงินและ ธรรมศาลา
ปรางค์ประธาน ปรางค์พรหมทัต ปรางค์หินแดง หอพราหมณ์ ลานชั้นใน ระเบียงคด บรรณาลัย สระ กำแพงและประตูชั้นนอกของปราสาท ธรรมศาลา (คลังเงิน) เมรุพรหมทัต (สถานที่นี้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระศพท้าวพรหมทัต สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา) กำแพงเมืองพิมาย ระเบียงคด บรรณาลัย สระ กำแพงและประตูชั้นนอกของปราสาท ฯลฯ
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
เมืองสิงห์เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อย ต.เมืองสิง อ.ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเมืองปากทางบนเส้นทางที่ไปยังดินแดนตอนใต้ของพม่า
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
พระนครคีรี หรือที่เรียกโดยสามัญว่าเขาวัง อยู่ที่ ต.คลองกระแซง อ.เมือง จ.เพชรบุรี เดิมเป็นพระราชฐาน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างบนยอดเขาสมณ หรือ เขามหาสวรรค์ เมื่อปี พ.ศ. 2401 สำหรับใช้ประทับแรม ต่อมาใช้รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เป็นที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ
โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ พระธาตุจอมเพชร วัดพระแก้ว พระสุทธเสลเจดีย์ พระปรางค์แดง และศาลาจีน พระอุโบสถก่ออิฐถือปูน
พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งปราโมทย์มไหศวรรย์ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระที่นั่งราชธรรมสภา หอชัชวาลเวียงชัย หอพิมานเพชรมเหศวร์ ตำหนักสันถาคารสถาน ฯลฯ
อาคารประกอบอื่น ๆ ได้แก่ ศาลาเย็นใจ ศาลาลูกขุน โรงรถ (รถม้า) โรงม้า ราชวัลลภาคาร (เป็นที่พักมหาดเล็ก และข้าราชบริพาร) โรงมหรสพสิ่งสำคัญ ได้แก่ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดนางพญา วัดเขาพนมเพลิง ฯลฯ
没有评论:
发表评论