2011年7月19日星期二

อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  (United  Nation  Education  Science  and  Culture  Organization หรือ  องค์การยูเนสโก  (UNESCO)  ประกาศให้เป็น “มรดกโลก”  เมื่อปี  พ.ศ. 2535
โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  วัดมหาธาตุ  วัดตระพังเงิน  วัดชนะสงคราม  วัดสระศรี  วัดตะกวน  วัดศรีชุม  พระอัฏฐารศ  พระอัจนะ  ฯลฯ





อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย



อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

ได้รับการประกาศเป็น  “เขตอุทยานประวัติศาสตร์”  มีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานรวมทั้งสิ้น  1,810  ไร่  ในปี  พ.ศ. 2519  กรมศิลปากรได้ประกาศให้เขตพื้นที่ภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา  จำนวน  1,810  ไร่  เป็น  “เขตโบราณสถาน”  องค์การยูเนสโก  (UNESCO)  ประกาศให้เป็นมรดกโลก  พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  เมื่อปี  พ.ศ. 2535
โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  พระบรมมหาราชวัง  วัดในพระพุทธศาสนา  ได้แก่  วัดพระศรีสรรเพชญ์  วัดมหาธาตุ  วัดไชยวัฒนาราม  วัดราชบูรณะ  วัดมเหยงค์  วัดใหญ่ชัยมงคล วัดภูเขาทอง  วัดมงคลบพิตร  ฯลฯ



อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง  ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง  ต.ตาแป๊ด  อ.นางรอง  ติดต่อกับอำเภอประโคนชัย  จังหวัดบุรีรัมย์
โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง  สร้างขึ้นตามนัยของศาสนสถาน  เป็นตัวอย่างสุดท้ายของศาสนสถานเขมร  บนยอดเขาเหนือดินแดนเขมรสูงในพื้นที่ของไทย  ลักษณะศิลปะ สถาปัตยกรรมของศาสนสถานแห่งนี้  แสดงให้เห็นว่า  ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยของพระศิวะ  สร้างขึ้นด้วยฝีมือช่างหลวง  ฯลฯ
ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง  ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมหินทรายและศิลาแดง  ห้าหลัง  สี่ชาลา  หนึ่งทางเดิน  ระเบียงคด  และกำแพงล้อมรอบ  รวมทั้งซากของฐานอาคารที่ก่อด้วยอิฐอีกสองหลัง



อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  วัดมหาธาตุนครชุม  วัดพระแก้ว  วัดช้างรอบ  ป้อมและประตูเมืองกำแพงเพชร
วัดเก่ายุคสุโขทัยอื่น ๆ  ได้แก่  วัดธาวาสใหญ่  วัดสี่อิริยาบถ  หรือ  ดมณฑปสี่หน้า  เมืองไตรตรึงส์  ฯลฯ



อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

เมืองศรีเทพอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ  107  กม.
โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  ปรางค์สองพี่น้อง  ปรางค์ศรีเทพ  เขาคลังใน  (เป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติของคนในสมัยโบราณ)  สระแก้วสระขวัญ  น้ำในสระถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณกาล
โบราณวัตถุอื่น ๆ  ได้แก่  พระธรรมจักร  เมืองศรีเทพ  หลักศิลาจารึก  ซึ่งมีรูปร่างคล้ายตะปูหัวเห็ด  จารึกอักษรคฤนถ์  เข้าใจว่าเป็นหลักเมืองศรีเทพ  แท่งศิลาจารึกสลักลวดลายอย่างเดียวกับที่เมืองพิมาย  ศิวลึงค์  เทวรูป  รูปยักษ์  เทพารักษ์  และระฆังหิน  ฯลฯ



อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  ปราสาทหินพิมาย  ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ในเขต  อำเภอพิมาย  จังหวัดนครราชสีมา เป็นปราสาทขอมที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  หันหน้าไปทางทิศใต้  ต่างไปจากปราสาทขอมอื่น ๆ  ซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ปราสาทหินพิมาย  ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างและบรรดาอาคารต่าง ๆ  รวมทั้งกำแพงสองชั้น  คือ  กำแพงชั้นนอกและชั้นใน  ปรางค์องค์ใหญ่ตั้งอยู่กลางเป็นปรางค์ประธาน  ประตูเข้าจากองค์ปรางค์มีทั้งสี่ทิศ  ถัดออกไปเป็นระเบียงคด  และกำแพงล้อมอยู่สองชั้นดังกล่าวแล้ว  สิ่งที่ก่อสร้างอื่น ๆ  ได้แก่  สระน้ำที่อยู่สี่มุม  หอไตร  (บรรณาลัย)  และหอพราหมณ์  นอกกำแพงทางประตูซุ้มด้านใต้มีคลังเงินและ               ธรรมศาลา
ปรางค์ประธาน  ปรางค์พรหมทัต  ปรางค์หินแดง  หอพราหมณ์  ลานชั้นใน  ระเบียงคด  บรรณาลัย  สระ  กำแพงและประตูชั้นนอกของปราสาท  ธรรมศาลา  (คลังเงิน)  เมรุพรหมทัต  (สถานที่นี้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระศพท้าวพรหมทัต  สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา)  กำแพงเมืองพิมาย  ระเบียงคด  บรรณาลัย  สระ  กำแพงและประตูชั้นนอกของปราสาท  ฯลฯ



อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

เมืองสิงห์เป็นเมืองโบราณ  ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อย ต.เมืองสิง  อ.ไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเมืองปากทางบนเส้นทางที่ไปยังดินแดนตอนใต้ของพม่า


อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี

พระนครคีรี  หรือที่เรียกโดยสามัญว่าเขาวัง อยู่ที่  ต.คลองกระแซง  อ.เมือง  จ.เพชรบุรี  เดิมเป็นพระราชฐาน  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  ให้สร้างบนยอดเขาสมณ  หรือ  เขามหาสวรรค์  เมื่อปี  พ.ศ. 2401  สำหรับใช้ประทับแรม  ต่อมาใช้รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงใช้เป็นที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ
โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  พระธาตุจอมเพชร  วัดพระแก้ว  พระสุทธเสลเจดีย์  พระปรางค์แดง  และศาลาจีน  พระอุโบสถก่ออิฐถือปูน
พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์  พระที่นั่งปราโมทย์มไหศวรรย์  พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท  พระที่นั่งราชธรรมสภา  หอชัชวาลเวียงชัย  หอพิมานเพชรมเหศวร์  ตำหนักสันถาคารสถาน  ฯลฯ
อาคารประกอบอื่น ๆ  ได้แก่  ศาลาเย็นใจ  ศาลาลูกขุน  โรงรถ (รถม้า)  โรงม้า  ราชวัลลภาคาร  (เป็นที่พักมหาดเล็ก  และข้าราชบริพาร)  โรงมหรสพ
สิ่งสำคัญ ได้แก่  วัดช้างล้อม  วัดเจดีย์เจ็ดแถว  วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่  วัดนางพญา  วัดเขาพนมเพลิง  ฯลฯ

2011年7月13日星期三

เรื่องชื่อตำแหน่งในเรือสำเภาจีน

ตัวอย่าง กองเรือมหาสมบัติอันเกรียงไกรของแม่ทัพเจิ้งเหอ


lช่างซ่อมบำรุง 搭材 ตาฉาย
lผู้ควบคุมบัญชาการสูงสุด 宝船最高指挥官(เบ่าฉวนจุ้ยกาวจื่อฮวยกวน) คือ แม่ทัพเจิ้งเหอ หรือแม่ทัพซำปอกง

lคณะควบคุมบัญชาการสูงสุดสูงสุด มี ๗ คน ในฐานะตัวแทนแห่งองค์จักรพรรดิมังกร

lผู้บัญชาการเรือของแต่ละเรือ ชื่อ ไต้ก๋ง(船长ฉวนจ่าง)

lลูกเรือ 班碇手ปานเตี้ยนโส่ว

lนักพยากรณ์อากาศ นักโหราศาสตร์ ชื่อ 阴阳官 ยินหยังกวน

lนักภาษาศาสตร์ ล่าม ชื่อ 通事 นายท่องสื่อ

lแพทย์และนักเภสัชสมุนไพร ชื่อ 医官 ยีกวน

lนักสอนศาสนาอิสลาม และ พระสงฆ์ในพุทธศาสนา ชื่อ 传教士 僧侣 ฉวนเจี้ยวซื่อ ซึงหล่วย

lนักบัญชี ชื่อ 书写手 ซูเสี่ยโส่ว

lผู้บัญชาการฝ่ายทรัพยากร 鸿舻寺序班 หงหลูซื่อซู่ปาน

lช่างไม้ 木棯มู่เหนี่ยน

2011年7月3日星期日

คำให้การชาวกรุงเก่า

คำให้การชาวกรุงเก่า

 

คำให้การชาวกรุงเก่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
คำให้การชาวกรุงเก่า เป็นหนังสือพงศาวดารบอกเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไทยโดยเฉพาะช่วงอาณาจักรอยุธยา ตั้งแต่ก่อตั้งอาณาจักร จนกระทั่งเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 นับเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกเล่มหนึ่งของไทย

ที่มา
คำให้การชาวกรุงเก่า หอพระสมุดวชิรญาณได้ต้นฉบับมาจากประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2454 ซึ่งเป็นช่วงที่พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิอังกฤษ โดยเชื่อว่าต้นฉบับดั้งเดิมเป็นคำให้การเป็นภาษามอญและได้แปลเป็นภาษาพม่าอีกทอดหนึ่งจากบรรดาเชลยศึกชาวอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปยังพระนครอังวะภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 แล้วแปลเป็นภาษาไทยเสร็จในปี พ.ศ. 2455 โดยโรงพิมพ์หมอสมิธ (แซมมวล เจ .สมิธ)
ซึ่งคำให้การชาวกรุงเก่านี้ มีความละม้ายคล้ายคลึงกับพงศาวดารอีกฉบับหนึ่งที่เป็นภาษามอญอีกเช่นกัน ที่มีชื่อว่า "คำให้การขุนหลวงหาวัด" ซึ่งเชื่อว่าเป็นคำให้การของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร หรือ "ขุนหลวงหาวัด" (ถูกแปลเป็นภาษาไทย โดย กรมหลวงวงศาธิราชสนิท) ที่ถูกกวาดต้อนไปยังพระนครอังวะ ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยา และเมื่อพิมพ์แล้วเสร็จ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงวิจารณ์และทรงให้ชื่อหนังสือว่า คำให้การชาวกรุงเก่า แทนที่จะเป็น คำให้การขุนหลวงหาวัด เนื่องจากทรงเห็นว่า เป็นคำให้การของบุคคลหลายคน มิใช่แต่เพียงคน ๆ เดียว
ในปัจจุบัน คำให้การชาวกรุงเก่า ได้ถูกตีพิมพ์อีกครั้งเมื่อกลางปี พ.ศ. 2544 โดยสำนักพิมพ์จดหมายเหตุ ราคาจำหน่ายเล่มละ 270 บาท และได้ตีพิมพ์ใหม่หลังจากนั้นอีกหลายครั้ง

เนื้อหา
คำให้การชาวกรุงเก่า มีเนื้อหาแบ่งเป็น 3 ภาคใหญ่ ๆ โดยตอนแรกว่าด้วยพงศาวดารที่เป็นนิทาน ตำนานและความเชื่อที่บอกเล่าต่อมากันมาของการกำเนิดอาณาจักรอยุธยา นับตั้งแต่ พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังเขาปัถวี และได้ทรงมีพุทธทำนาย ถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาบริเวณนี้ต่อไปในอนาคต อีกทั้งยังได้ทรงแสดงปาฏิหารย์ ทรงฉายรูปของพระองค์ประดับไว้ยังหน้าผาแห่งนั้น เรียกกันว่า พระฉาย และทรงประทับรอยพระพุทธบาท ไว้เหนือยอดเขาสุวรรณบรรพด้วย
จากนั้นก็เป็นเรื่องราวของกษัตริย์พระองค์ต่าง ๆ ทั้งในตำนานและมีพระองค์จริง โดยมีทั้ง พงศาวดารเขมร, เจ้าฟ้ารั่ว รวมถึงเรื่องพระเจ้าสายน้ำผึ้งด้วย จนถึงการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310
ภาคที่ 2 เป็นดรรชีรายชื่อของลำดับกษัตริย์ ตำนานความเชื่อต่าง ๆ แต่ครั้งโบราณ ชื่อเมือง ชื่อเจดีย์ ชื่อพระราชวัง ชื่อยศขุนนาง ชื่อช้างต้น ชื่อเรือพระที่นั่ง ชื่อรถพระที่นั่ง เป็นต้น และตอนสุดท้ายเป็น การบันทึกถึงพระราชประเพณี 12 เดือน และพระราชประเพณีต่าง ๆ ในสมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา