2011年9月13日星期二

แหล่งท่องเที่ยววีน เมืองหางโจว


หางโจว
เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน หางโจวตั้งอยู่ทางตอนเหนือของมณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของจีน บนที่ราบน้ำท่วมถึงริมฝั่งแม่น้ำแยงซี พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขา มีทะเลสาบซีหู เป็นสัญลักษณ์ของเมืองตั้งอยู่ใจกลางเมือง ในสมัยราชวงศ์ฉิน หางโจวถือเป็นศูนย์กลางการค้า มีการขุดคลองเชื่อมระหว่างปักกิ่งและหางโจวสำเร็จต่อมาได้เป็นเมืองหลวงในสมัยราชวงศ์ซ่ง ปี ค.ศ. 1230 มาร์โค โปโล ได้เดินทางมาถึงเมืองหางโจว และได้ขนานนามเมืองนี้ว่าเป็นเมืองที่งดงามที่สุดในโลก สมัยราชวงศ์หมิงหางโจวยังคงเป็นศูนย์กลางการค้ามีการติดต่อกับต่างชาติ โดยมีผ้าไหมเป็นสินค้าหลัก จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์กบฎไท่ผิงในช่วง ค.ศ. 1860-1862 ทำให้ความสวยงามลดลงไป ปัจจุบันหางโจวเป็นเมืองอุตสาหกรรมสมัยใหม่ มีใบชาและผ้าไหมเป็นสินค้าส่งออกหลักที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก


เมืองหางโจว ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ 1 ใน 6 ของประเทศจีน ปัจจุบันหางโจว ถือเป็นเมืองที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกที่ได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดแล้ว ดังนั้นหางโจวจึงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีวัฒนธรรมที่ยาวนาน และเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพที่สวยสดงดงามเมืองหนึ่งของประเทศจีน รวมทั้งมั่งคั่งไปด้วยเภสัชอุตสาหกรรม และสถาบันศิลปะมากมาย


เมืองหางโจว มีทะเลสาบซีหู (Xihu) เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยว ให้ความสนใจมากที่สุด โดยทะเลสาบซีหู เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของชาวเมืองทั่วไปรวมไปถึง นักท่องเที่ยวที่มักจะไม่พลาดโปรกแกรมล่องเรือชมทะเลสาบ โดยเรือที่พานักท่องเที่ยว ล่องทะเลสาบนั้นถูกตกแต่งอย่างสวยงาม ราวกับย้อนอดีตไปสมัยที่ยังใช้กำลังภายในกันอยู่ เข้ากับบรรยากาศโดยรอบ แตกต่างกับภายในตัวเมืองหางโจว ซึ่งมีความทันสมัยไม่น้อย เพราะมีทั้งสนามบินนานาชาติ ทางด่วน ห้างสรรพสินค้า แหล่งช้อปปิ้ง อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเจ้อเจียงที่โด่งดังของประเทศจีน อีกด้วย


หางโจว ไม่เพียงแต่มีทิวทัศน์ที่งดงาม แต่ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม และใบชา ของที่นี่ก็มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างกว้างขวางด้วย ใบชา "หลงจิ่งฉา" ( แปลว่า ชาบ่อมังกร ) ของทะเลสาบซีหู เป็นใบชาที่มีชื่อเสียงที่สุดชนิดหนึ่งของประเทศจีน กล่าวกันว่า "ดื่มชาหลงจิ่ง เพียง 1 จิบ ปากจะหอมตลอดวัน" ดังนั้นชาวจีนจึงมักจะจัดชา หลงจิ่ง เป็นของขวัญแก่เพื่อน ส่วนสีสันของไหมหางโจวก็สวยสดงดงาม ไม่เพียงแต่คนจีนเท่านั้นที่รู้สึกชมชอบ คนต่างชาติไม่น้อยก็ชื่นชม ในนิทรรศการระดับนานาชาติ ผ้าไหมหางโจว ได้รับการต้อนรับอย่างสูงทีเดียว



ทะเลสาบซีหู
ทะเลสาบซีหู คือ ไข่มุกแห่งเมืองหางโจวเมืองเอกมณฑลเจ้อเจียงทางภาคตะวันออกของจีน สามด้านล้อมรอบด้วยภูเขา น้ำในทะเลสาบใสสะอาดงดงาม เขื่อนไป๋และเขื่อนซู เสมือนเข็มขัดเขียวสองเส้นลอยอยู่ในทะเลสาบ เป็นเขื่อนดินยาวสองเขื่อนที่ตั้งชื่อตามนามสกุลของซูตงโพและไป๋จวีอี้ กวีผู้มีชื่อเสียงของจีน นักท่องเที่ยวเดินบนเขื่อนดิน ชมดอกไม้หลากสีและต้นไม้สีเขียวโดยรอบบริเวณ มองแสงสะท้อนของน้ำในทะเลสาบและภูเขาที่ห่างไกลออกไป เดินไปชมไปเป็นที่จับใจยิ่งนัก ทะเลสาบซีหูมีทิวทัศน์สวยงามตลอดปี เป็นที่จับใจของกวีและนักประพันธ์ทุกยุคทุกสมัย พวกเขาต่างใช้ปลายพู่กันเขียนพรรณนา ชื่นชมความสวยงามของทะเลสาบซีหูสุดความสามารถ ไป๋จวีอี้ กวีผู้มีชื่อเสียงในสมัยราชวงศ์ถังได้แต่งบทกวีว่า”เว่ยเหนิงเพาเต๋อหางโจวชี่ อีป้านโกวหลิวสื้อฉื่อหู” หมายความว่า การที่จากเมืองหางโจวไปไม่ได้ ก็เพราะติดใจทะเลสาบนี้เป็นส่วนใหญ่ สะท้อนถึงความหลงใหลทะเลสาบซีหูของเขา ส่วนซูตงโพ กวีในสมัยราชวงค์ซ่งก็เปรียบทะเลสาบซีหูเป็น”ไซซี” นางงามในสมัยโบราณ โดยแต่งบทกวีว่า”สุ่ยกวางเลี่ยนเอี้ยนฉิงฟางห่าว ซานสื้อคงเหมิงอวี่อี้ฉี อวี้ป่าซีหูปี่ซีจื่อ ต้านจวงหนงโม่จ่งเซียงอี๋” ซึ่งมีความหมายว่า “แสงสะท้อนคลื่นซัดสาดอากาศดี เขาสลัวมัวมืดฝนมาแปลก ใคร่เปรียบซีหูดั่งไซซี แต่งหน้าหนาบาง ล้วนเหมาะดี” บทกวีนี้กลายเป็นบทกวีชื่นชมทะเลสาบซีหูที่มีชื่อเสียงเลื่องลือนับพันปี


ทะเลสาบซีหู อยู่ที่เมืองหางโจว ทางภาคตะวันออกของจีน มีทิวทัศน์สวยงามเป็นที่ติดตาต้องใจของนักท่องเที่ยวทั้งจีนและต่างประเทศมาตั้งแต่โบราณกาล เมื่อทศวรรษ 1300 มาร์โคโปโล นักท่องเที่ยวผู้มีชื่อเสียงของอิตาลีเดินทางไปถึงเมืองหังโจว และชมทะเลสาบซีหูว่า”ตัวอยู่ซีหู เสมือนนั่งอยู่บนสวรรค์” ทะเลสาบซีหู เป็นทะเลสาบที่มีความงดงามเหนือคำบรรยาย ตลอดจนชมธรรมชาติโดยรอบที่ให้ความสดชื่นสดชื่น ซึ่งได้รับสมญานามจากนักท่องเที่ยวว่า "พฤกษชาติในนครินทร์" เราสามารถล่องเรือชมความงามของทะเลสาบซีหู มีความยาวโดยรอบประมาณ 15 กม. น้ำลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร โดยสามารถมองเห็นทัศนียภาพของทะเลสาบซีหูได้แบบเต็มที่ สถานที่สำคัญอีกจุด ในการชมทะเลสาบซีหูก็คือ สะพานด้วน ซึ่งเป็นที่มาของตำนานเรื่องนางพญางูขาว กับชายคนรักชื่อ โข้เซียน

ซีหู เป็นทะเลสาบสวยงามและมีชื่อเสียงของประเทศจีน เป็นบ่อเกิดของบทกวีและนิยายดังหลายเรื่อง กวีโบราณเคยบรรยายเปรียบเทียบซีหูเหมือนนางไซซีไซซีสวยทุกอิริยบถ ซีหูสวยทุกฤดูกาลสถานที่ท่องเที่ยวที่ใกล้ทะเลสาบซีหูนี้ยังมีอีกแห่งคือ งักฮุย เทพเจ้าแห่งความจงรักภักดี


"แผนที่กลุ่มขี้เหร่"เป็นรูปภาพในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีน     จุดสิ้นสุดของปี1966ที่ช่วงต้นและปี1967ปรากฏการแบ่งแยกหลิวซ่าวหฉี เติ้งเสี่ยวผิงและอื่นๆ Roaderทุนนิยม"สำหรับเนื้อหาการทำงานของรูปภาพนี้
 
 
 
 
 
   ศูนย์ของหน้าจอจะนั่งในเก้าอี้ถือโทเค็นที่จะทำคำสั่งเช่นหลิวซ่าวหฉี (​​เก้าอี้มีคำตอบที่ดีมากที่"ซ่อมแซม"ได้เน้นคำหมายถึง"revisionism")    แล้วส่วนคนที่นั่ง"รถกระบะ" (ภาษามณฑลเสฉวนกล่าวว่า"เลื่อน") คือเติ้งเสี่ยวผิง เกี้ยวรอบปูทางและกดพัดลมม้วนธงรับแถบเต้นรำจับปืน เรียกผู้ดูแลธุระและคนทั้งหมดนี้เรียกว่า"ผู้ใต้บังคับบัญชาของหลิวและเติ้ง"จากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น   อย่างเช่น   พังเจอน   เทาจุก  หลิวลานเทา หยางสั่งขุ้น    ลู่ติ้ง และอื่นๆ     เดินทางไปยัง"ทุนนิยม"ของก้นบึ้งข้างหน้า ลักษณะของแต่ละคนคล้ายๆกันแต่ว่าน่าเกลียดมากสักคนหนึ่งมองเห็นรูภาพก็สามารถบอกได้เลย คนไหนเป็นคนที่น่าเกลียด ในสถานการณ์ที่มันทำลายกฎของขั้นตอนของการดำเนินการทางการเมืองของCCP  แจ้งให้ทราบล่วงหน้าเป้าหมายเริ่มต้นและการสูญเสียจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรมที่อยู่ภายใต้กลับมาไม่ได้เหมือนเดิมแล้ว   หลิวและเติ้งกับโทษการทำงานของการสื่อสารทางการเมือง
 
 

การโจมตีบุคคลดังกล่าว ดูหมิ่นบุคคลหลิวและเติ้งว่าแจงสิ่งที่"ออกไปในการต่อสู้ในชั้นเรียน","สามด้วยตนเองแพคเกจ","สามและนิดหน่อย""การก่ออาชญากรรมอื่น ๆ "เหตุผลที่สำคัญคนธรรมดาเข้าใจคลุมเครือมากขึ้น ปลุกระดมความเกลียดชังคนตาบอดของพวกเขาเป็นระยะเวลานานของภาวะซึมเศร้าในหมู่คนด้วยการเปิดตัวของความวิตกกังวลรัฐปรารถนาที่จะให้ระบายกับบทบาทเชิงรุกของพวกเขา ภาพวาดที่ลอกเลียนแบบจำนวนมากดึงดูดความสนใจได้รับพื้นที่ขนาดใหญ่ของการสื่อสารที่มีการวิจารณ์ที่สำคัญของความโกรธของการ์ตูนที่เป็นที่นิยม การวิจารณ์ในขณะที่ความพ่ายแพ้ หลิวและการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเติ้งของออกจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่เติมน้ำมัน สีแดงยามยังตามเหมาะสมรอบมะระทาสีขนาดของ  roadersทุนนิยมแต่ละท้องถิ่นรวมกันเพื่อให้smear ส่วนรวมมากขึ้นที่รู้จักกันดีในเซี่ยงไฮ้  ซีอานของ"แผนที่กลุ่มน่าเกลียด."
YeJianying    XuXiangqian   ChenYi    โค้ชเตะHuairenที่ตาล Zhenlinมีภาพนี้สำหรับเป้าหมายการแบ่งแยกสีแดงยามโจมตีพรรคคอมมิวนิสต์ ความตั้งใจในการเคลื่อนที่"คือการใช้ประสบการณ์ทั้งหมดที่ลง"   Zhou Enlai แสดงความคิดเห็นว่า :" นี่คือการ์ตูนเกี่ยวกับการตอบสนองของการโจมตี  มันกว้างเกินไปแล้วนะ" เหมาเจ๋อตงบัญชาการกองบัญชาการกองทัพFuchongbi ในปักกิ่งจงกล่าวว่า"เราไม่ให้เรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างง่ายๆหรอก
 
 
 ว่ากันว่าคนกลุ่มกบฏยังได้พิมพ์เป็นหนังสื่อแล้วส่งไปยังท้องถิ่น (รวมถึงบุคคลที่เจ๊งก่อนในการปฏิวัติทางวัฒนธรรมครั้งนั้น)และได้เผยแพร่ตัวเลขที่น่าเกลียดร้อยคน"ในหนังสือนั้นๆ การกระจายอย่างกว้างขวาง
เด็กบางคนเริ่มเรียนรู้การ์ตูนที่เกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นสำเนา วงวรรณคดีและศิลปะยังได้รับการวาดรูปว่าแผนที่น่าเกลียดเป็นร้อย"ที่ชื่อเสียงที่สุด เช่นนักแสดงหญิงที่ MeiLanfang SongDaolin   WangXiaotang   Baiyang    QinYi และการสรรหาอย่างเต็มรูปแบบอื่นๆ  พวกเขาคือ วงแม้แต่ระบบหน่วย แต่ยังมีส่วนร่วมในหน่วยนี้คือระบบที่ถูกลงสำหรับ, ประณามบรรดา"ร้อยแผนที่ขี้เหร่" ครูที่กำลังเรียนสอนก็ถูกวาดขึ้นไป
 
 

2011年8月23日星期二

ศิลปะทวารวดี

ศิลปะทวารวดี

อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เป็นของชนชาติมอญ ละว้า มีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี อำเภออู่ทอง และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงหนือ แถบ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดปราจีนบุรี และขึ้นไปถึงทางเหนือ จังหวัดลำพูน มีศิลปะเป็นของตนเอง ถึงแม้ว่าจะได้รับอิทธิพลจากต่างชาติอย่างมากก็ตาม

พระพุทธรูป              

ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ

1.มีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของอมราวดีอยู่ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมี จีวรเรียบเหมือนจีวรเปียก ถ้าเป็นพระพุทธรูปนั่งจะขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12


2.พัฒนาขึ้นจากแบบแรก โดยมีอิทธิพลพื้นเมืองผสมมากขึ้น พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเกตุมาลาเป็นต่อมนูนใหญ่ บางทีมีรัศมีบัวตูมเหนือเกตุมาลา และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระเนตรโปน พระหนุ (คาง) ป้าน พระนลาฏ (หน้าผาก) แคบ พระนาสิกป้านใหญ่แบน พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ ยังคงขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 13-15


3.พระพุทธรูปในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร เนื่องจากเขมรเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นในสมัยเมืองพระนคร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ศิลปกรรมแบบทวารวดี ในระยะนี้จึงมีอิทธิพลเขมรแบบบาปวนหรืออิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทยที่เรียกว่าศิลปะลพบุรีปะปน เช่น พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักยิ้ม นั่งขัดสมาธิราบ เป็นต้น นอกจากพระพุทธรูปแล้วยังพบสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงการสืบทอดแนวคิดทางศิลปะอินเดียโบราณก่อนหน้าที่จะทำรูปเคารพเป็นรูปมนุษย์ภายใต้อิทธิพลศิลปะกรีก

ประติมากรรมกลุ่มเทวรูปรุ่นเก่า
เป็นประติมากรรมศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู อยู่ร่วมสมัยกับทวารวดีตอนต้น และตอนปลาย ในราวพุทธศตวรรษที่ 11-13 ที่เมืองศรีมโหสถและเมืองศรีเทพ และพบอยู่ร่วมกับศรีวิชัยและทวารวดีที่ภาคใต้ของประเทศไทย มักจะทำเป็นรูปพระนารายณ์

ลักษณะพระพักตร์จะไม่เหมือนพระพุทธรูปแบบทวารวดีเลย จะมีลักษณะคล้ายกับอินเดีย ตัวอย่างเช่น พระนารายณ์ที่ไชยาแสดงลักษณะอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบมทุราและอมราวดี(พุทธศตวรรษที่ 6-9) รวมทั้งที่พบที่นครศรีธรรมราช ซึ่งถือสังข์ด้วยพระหัตถ์ซ้ายด้านล่าง ผ้านุ่งและผ้าคาดที่พบที่ภาคใต้และที่เมืองศรีมโหสถ จะมีผ้าคาดเฉียงเหมือนศิลปะอินเดียหลังคุปตะ (ปัลลวะ) ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ส่วนเทวรูปรุ่นเก่าที่อำเภอศรีเทพจะมีอายุใกล้เคียงกัน และที่ศรีเทพนอกเหนือจากที่จะพบรูปพระนารายณ์แล้วยังพบรูปพระกฤษณะและพระนารายณ์ด้วย

ลักษณะของเทวรูปกลุ่มนี้ไม่เหมือนกับที่พบในเขมรเนื่องจากกล้าที่จะทำลอยตัวอย่างแท้จริง ไม่ทำแผ่นหินมารับกับพระหัตถ์คู่บน แต่ยังไม่มีการนำเอากลุ่มเทวรูปนี้เข้าไปไว้ในศิลปะทวารวดี จึงเพียงมีแต่สมมุติฐานว่าเทวรูปกลุ่มนี้น่าจะเป็นทวารวดีที่เป็นพราหมณ์ การเข้ามาของเทวรูปนี่มีข้อคิดเห็นแตกไปเป็น 2 ทางคือ เป็นศิลปะอินเดียที่นำเข้าที่พร้อมกับการติดต่อค้าขาย หรือเป็นศิลปะแบบอินเดียที่ทำขึ้นในท้องถิ่น และมีการพัฒนาการภายใต้อิทธิพลศิลปะพื้นเมืองแบบทวารวดีและศรีวิชัย

เครื่องมือเครื่องใช้
เครื่องมือเครื่องใช้ที่พบในแหล่งทวารวดีทั่วไปมักจะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เศษภาชนะดินเผา เนื้อดินมักทำเป็นภาชนะปากบาน ภาชนะทรงหม้อตาล เศษภาชนะเคลือบ มีทั้งที่เป็นเครื่องเคลือบจีนในสมัยราชวงศ์ถังถึงสมัยราชวงศ์หยวน เครื่องเคลือบจากเตาในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องเคลือบเปอร์เซีย เครื่องใช้อื่น ๆ ก็มีพบ เช่น กุณฑีดินเผา กาดินเผา ตะคันดินเผา กระสุนดินเผา ที่ประทับตราดินเผา ตุ๊กตาดินเผา ฯลฯ นอกจากเครื่องปั้นดินเผาแล้ว ยังพบเครื่องใช้สำริด ทั้งเป็นเครื่องใช้ทั่วไปกับที่เป็นของของสูง หรือของที่ใช้ในพีธีกรรม เช่นคันฉ่อง เครื่องประกอบราชยานคานหาม และเครื่องใช้ทำจากเหล็ก นอกจากเครื่องใช้แล้วยังพบเครื่องประดับทำจากหิน แก้ว ดินเผา สำริด ทองคำ ได้แก่ ลูกปัด แหวนตุ้มหู กำไล ฯลฯ

2011年7月19日星期二

อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  (United  Nation  Education  Science  and  Culture  Organization หรือ  องค์การยูเนสโก  (UNESCO)  ประกาศให้เป็น “มรดกโลก”  เมื่อปี  พ.ศ. 2535
โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  วัดมหาธาตุ  วัดตระพังเงิน  วัดชนะสงคราม  วัดสระศรี  วัดตะกวน  วัดศรีชุม  พระอัฏฐารศ  พระอัจนะ  ฯลฯ





อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย



อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

ได้รับการประกาศเป็น  “เขตอุทยานประวัติศาสตร์”  มีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานรวมทั้งสิ้น  1,810  ไร่  ในปี  พ.ศ. 2519  กรมศิลปากรได้ประกาศให้เขตพื้นที่ภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา  จำนวน  1,810  ไร่  เป็น  “เขตโบราณสถาน”  องค์การยูเนสโก  (UNESCO)  ประกาศให้เป็นมรดกโลก  พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  เมื่อปี  พ.ศ. 2535
โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  พระบรมมหาราชวัง  วัดในพระพุทธศาสนา  ได้แก่  วัดพระศรีสรรเพชญ์  วัดมหาธาตุ  วัดไชยวัฒนาราม  วัดราชบูรณะ  วัดมเหยงค์  วัดใหญ่ชัยมงคล วัดภูเขาทอง  วัดมงคลบพิตร  ฯลฯ



อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง  ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง  ต.ตาแป๊ด  อ.นางรอง  ติดต่อกับอำเภอประโคนชัย  จังหวัดบุรีรัมย์
โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง  สร้างขึ้นตามนัยของศาสนสถาน  เป็นตัวอย่างสุดท้ายของศาสนสถานเขมร  บนยอดเขาเหนือดินแดนเขมรสูงในพื้นที่ของไทย  ลักษณะศิลปะ สถาปัตยกรรมของศาสนสถานแห่งนี้  แสดงให้เห็นว่า  ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยของพระศิวะ  สร้างขึ้นด้วยฝีมือช่างหลวง  ฯลฯ
ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง  ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมหินทรายและศิลาแดง  ห้าหลัง  สี่ชาลา  หนึ่งทางเดิน  ระเบียงคด  และกำแพงล้อมรอบ  รวมทั้งซากของฐานอาคารที่ก่อด้วยอิฐอีกสองหลัง



อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  วัดมหาธาตุนครชุม  วัดพระแก้ว  วัดช้างรอบ  ป้อมและประตูเมืองกำแพงเพชร
วัดเก่ายุคสุโขทัยอื่น ๆ  ได้แก่  วัดธาวาสใหญ่  วัดสี่อิริยาบถ  หรือ  ดมณฑปสี่หน้า  เมืองไตรตรึงส์  ฯลฯ



อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

เมืองศรีเทพอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ  107  กม.
โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  ปรางค์สองพี่น้อง  ปรางค์ศรีเทพ  เขาคลังใน  (เป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติของคนในสมัยโบราณ)  สระแก้วสระขวัญ  น้ำในสระถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณกาล
โบราณวัตถุอื่น ๆ  ได้แก่  พระธรรมจักร  เมืองศรีเทพ  หลักศิลาจารึก  ซึ่งมีรูปร่างคล้ายตะปูหัวเห็ด  จารึกอักษรคฤนถ์  เข้าใจว่าเป็นหลักเมืองศรีเทพ  แท่งศิลาจารึกสลักลวดลายอย่างเดียวกับที่เมืองพิมาย  ศิวลึงค์  เทวรูป  รูปยักษ์  เทพารักษ์  และระฆังหิน  ฯลฯ



อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  ปราสาทหินพิมาย  ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ในเขต  อำเภอพิมาย  จังหวัดนครราชสีมา เป็นปราสาทขอมที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  หันหน้าไปทางทิศใต้  ต่างไปจากปราสาทขอมอื่น ๆ  ซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ปราสาทหินพิมาย  ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างและบรรดาอาคารต่าง ๆ  รวมทั้งกำแพงสองชั้น  คือ  กำแพงชั้นนอกและชั้นใน  ปรางค์องค์ใหญ่ตั้งอยู่กลางเป็นปรางค์ประธาน  ประตูเข้าจากองค์ปรางค์มีทั้งสี่ทิศ  ถัดออกไปเป็นระเบียงคด  และกำแพงล้อมอยู่สองชั้นดังกล่าวแล้ว  สิ่งที่ก่อสร้างอื่น ๆ  ได้แก่  สระน้ำที่อยู่สี่มุม  หอไตร  (บรรณาลัย)  และหอพราหมณ์  นอกกำแพงทางประตูซุ้มด้านใต้มีคลังเงินและ               ธรรมศาลา
ปรางค์ประธาน  ปรางค์พรหมทัต  ปรางค์หินแดง  หอพราหมณ์  ลานชั้นใน  ระเบียงคด  บรรณาลัย  สระ  กำแพงและประตูชั้นนอกของปราสาท  ธรรมศาลา  (คลังเงิน)  เมรุพรหมทัต  (สถานที่นี้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระศพท้าวพรหมทัต  สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา)  กำแพงเมืองพิมาย  ระเบียงคด  บรรณาลัย  สระ  กำแพงและประตูชั้นนอกของปราสาท  ฯลฯ



อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

เมืองสิงห์เป็นเมืองโบราณ  ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อย ต.เมืองสิง  อ.ไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเมืองปากทางบนเส้นทางที่ไปยังดินแดนตอนใต้ของพม่า


อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี

พระนครคีรี  หรือที่เรียกโดยสามัญว่าเขาวัง อยู่ที่  ต.คลองกระแซง  อ.เมือง  จ.เพชรบุรี  เดิมเป็นพระราชฐาน  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  ให้สร้างบนยอดเขาสมณ  หรือ  เขามหาสวรรค์  เมื่อปี  พ.ศ. 2401  สำหรับใช้ประทับแรม  ต่อมาใช้รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงใช้เป็นที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ
โบราณสถานที่สำคัญ  ได้แก่  พระธาตุจอมเพชร  วัดพระแก้ว  พระสุทธเสลเจดีย์  พระปรางค์แดง  และศาลาจีน  พระอุโบสถก่ออิฐถือปูน
พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์  พระที่นั่งปราโมทย์มไหศวรรย์  พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท  พระที่นั่งราชธรรมสภา  หอชัชวาลเวียงชัย  หอพิมานเพชรมเหศวร์  ตำหนักสันถาคารสถาน  ฯลฯ
อาคารประกอบอื่น ๆ  ได้แก่  ศาลาเย็นใจ  ศาลาลูกขุน  โรงรถ (รถม้า)  โรงม้า  ราชวัลลภาคาร  (เป็นที่พักมหาดเล็ก  และข้าราชบริพาร)  โรงมหรสพ
สิ่งสำคัญ ได้แก่  วัดช้างล้อม  วัดเจดีย์เจ็ดแถว  วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่  วัดนางพญา  วัดเขาพนมเพลิง  ฯลฯ

2011年7月13日星期三

เรื่องชื่อตำแหน่งในเรือสำเภาจีน

ตัวอย่าง กองเรือมหาสมบัติอันเกรียงไกรของแม่ทัพเจิ้งเหอ


lช่างซ่อมบำรุง 搭材 ตาฉาย
lผู้ควบคุมบัญชาการสูงสุด 宝船最高指挥官(เบ่าฉวนจุ้ยกาวจื่อฮวยกวน) คือ แม่ทัพเจิ้งเหอ หรือแม่ทัพซำปอกง

lคณะควบคุมบัญชาการสูงสุดสูงสุด มี ๗ คน ในฐานะตัวแทนแห่งองค์จักรพรรดิมังกร

lผู้บัญชาการเรือของแต่ละเรือ ชื่อ ไต้ก๋ง(船长ฉวนจ่าง)

lลูกเรือ 班碇手ปานเตี้ยนโส่ว

lนักพยากรณ์อากาศ นักโหราศาสตร์ ชื่อ 阴阳官 ยินหยังกวน

lนักภาษาศาสตร์ ล่าม ชื่อ 通事 นายท่องสื่อ

lแพทย์และนักเภสัชสมุนไพร ชื่อ 医官 ยีกวน

lนักสอนศาสนาอิสลาม และ พระสงฆ์ในพุทธศาสนา ชื่อ 传教士 僧侣 ฉวนเจี้ยวซื่อ ซึงหล่วย

lนักบัญชี ชื่อ 书写手 ซูเสี่ยโส่ว

lผู้บัญชาการฝ่ายทรัพยากร 鸿舻寺序班 หงหลูซื่อซู่ปาน

lช่างไม้ 木棯มู่เหนี่ยน

2011年7月3日星期日

คำให้การชาวกรุงเก่า

คำให้การชาวกรุงเก่า

 

คำให้การชาวกรุงเก่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
คำให้การชาวกรุงเก่า เป็นหนังสือพงศาวดารบอกเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไทยโดยเฉพาะช่วงอาณาจักรอยุธยา ตั้งแต่ก่อตั้งอาณาจักร จนกระทั่งเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 นับเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกเล่มหนึ่งของไทย

ที่มา
คำให้การชาวกรุงเก่า หอพระสมุดวชิรญาณได้ต้นฉบับมาจากประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2454 ซึ่งเป็นช่วงที่พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิอังกฤษ โดยเชื่อว่าต้นฉบับดั้งเดิมเป็นคำให้การเป็นภาษามอญและได้แปลเป็นภาษาพม่าอีกทอดหนึ่งจากบรรดาเชลยศึกชาวอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปยังพระนครอังวะภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 แล้วแปลเป็นภาษาไทยเสร็จในปี พ.ศ. 2455 โดยโรงพิมพ์หมอสมิธ (แซมมวล เจ .สมิธ)
ซึ่งคำให้การชาวกรุงเก่านี้ มีความละม้ายคล้ายคลึงกับพงศาวดารอีกฉบับหนึ่งที่เป็นภาษามอญอีกเช่นกัน ที่มีชื่อว่า "คำให้การขุนหลวงหาวัด" ซึ่งเชื่อว่าเป็นคำให้การของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร หรือ "ขุนหลวงหาวัด" (ถูกแปลเป็นภาษาไทย โดย กรมหลวงวงศาธิราชสนิท) ที่ถูกกวาดต้อนไปยังพระนครอังวะ ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยา และเมื่อพิมพ์แล้วเสร็จ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงวิจารณ์และทรงให้ชื่อหนังสือว่า คำให้การชาวกรุงเก่า แทนที่จะเป็น คำให้การขุนหลวงหาวัด เนื่องจากทรงเห็นว่า เป็นคำให้การของบุคคลหลายคน มิใช่แต่เพียงคน ๆ เดียว
ในปัจจุบัน คำให้การชาวกรุงเก่า ได้ถูกตีพิมพ์อีกครั้งเมื่อกลางปี พ.ศ. 2544 โดยสำนักพิมพ์จดหมายเหตุ ราคาจำหน่ายเล่มละ 270 บาท และได้ตีพิมพ์ใหม่หลังจากนั้นอีกหลายครั้ง

เนื้อหา
คำให้การชาวกรุงเก่า มีเนื้อหาแบ่งเป็น 3 ภาคใหญ่ ๆ โดยตอนแรกว่าด้วยพงศาวดารที่เป็นนิทาน ตำนานและความเชื่อที่บอกเล่าต่อมากันมาของการกำเนิดอาณาจักรอยุธยา นับตั้งแต่ พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังเขาปัถวี และได้ทรงมีพุทธทำนาย ถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาบริเวณนี้ต่อไปในอนาคต อีกทั้งยังได้ทรงแสดงปาฏิหารย์ ทรงฉายรูปของพระองค์ประดับไว้ยังหน้าผาแห่งนั้น เรียกกันว่า พระฉาย และทรงประทับรอยพระพุทธบาท ไว้เหนือยอดเขาสุวรรณบรรพด้วย
จากนั้นก็เป็นเรื่องราวของกษัตริย์พระองค์ต่าง ๆ ทั้งในตำนานและมีพระองค์จริง โดยมีทั้ง พงศาวดารเขมร, เจ้าฟ้ารั่ว รวมถึงเรื่องพระเจ้าสายน้ำผึ้งด้วย จนถึงการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310
ภาคที่ 2 เป็นดรรชีรายชื่อของลำดับกษัตริย์ ตำนานความเชื่อต่าง ๆ แต่ครั้งโบราณ ชื่อเมือง ชื่อเจดีย์ ชื่อพระราชวัง ชื่อยศขุนนาง ชื่อช้างต้น ชื่อเรือพระที่นั่ง ชื่อรถพระที่นั่ง เป็นต้น และตอนสุดท้ายเป็น การบันทึกถึงพระราชประเพณี 12 เดือน และพระราชประเพณีต่าง ๆ ในสมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา

2011年6月26日星期日

แหล่งท่องเที่ยวของจีน ลี่เจียง (แชงกรีลา)

ลี่เจียง (แชงกรีลา) ลี่เจียง มีพื้นที่ 20,600 ตารางกิโลเมตรตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน มีเขตแนวติดเทือกเขาทิเบตและเทือกเขายูนกุย เป็นเขตการปกครองที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเขตเมืองและเขตชนบททางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีย่านเมืองเก่าลี่เจียงที่มีชื่อเสียงมาก ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เมืองเก่าต้าเหยียน พื้นที่ 95% เป็นภูเขา มีประชากร 1.125 ล้านคน มีชนเผ่า 23 เผ่าอาศัย แต่มีเผ่าดั้งเดิมจำนวน 12 เผ่า ซึ่งชนเผ่าน่าซี (Naxi) ถือเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยในลี่เจียงมากที่สุด

ย่านเมืองเก่าลี่เจียงมีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปได้มากกว่า 800 ปี และเคยเป็นจุดแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้าตามเส้นทางสาย Tea Horse สายเก่า ย่านเมืองเก่านี้มีชื่อเสียงจากคูคลองและสะพานที่มีอยู่มากมาย จนได้รับการขนานนามว่า "เวนิสแห่งตะวันออก"เมืองเก่าลี่เจียงมีสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมแตกต่างไปจากเมืองโบราณอื่นๆของจีน เนื่องจากเป็นเมืองที่เป็นที่ตั้งรกรากของชาวหน่าซี หรือนาสี มาตั้งแต่สมัยโบราณ


มรดกโลก
วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ย่านเมืองเก่าลี่เจียง (ต้าเหยียน ไป๋ซา และซูเหอ) ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ตั้งแต่นั้นมา ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับภาระหน้าที่ในการพัฒนาและอนุรักษ์ย่านเมือง เก่ามากขึ้น และยังทำให้เมืองนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น จนมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางมาเยี่ยมชมเมืองเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็ทำให้ชาวเมืองเกรงว่ากระแสการท่องเที่ยวและการพัฒนาที่หลั่ง ไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว จะทำให้เมืองนี้สูญเสียเอกลักษณ์และมนต์เสน่ห์ที่น่าประทับใจไป

พ.ศ. 2550 เมืองลี่เจียงของมณฑลยูนนานได้รับคัดเลือกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวดีเด่นทางวัฒนธรรมจีน
สถานที่ท่องเที่ยว
1.ภูเขาหิมะมังกรหยก หรือ อวี้หลงเซี่ยซาน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเก่าลี่เจียง เป็นภูเขาสูงที่ตั้งตระหง่าน ซึ่งมีหิมะปกคลุมอยู่ตลอดทั้งปี ทิวเขาแห่งนี้ประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งหุบห้วย ธารน้ำ แนวผา และทุ่งหญ้าน่าซี ทิวเขาแห่งนี้เมื่อมองจากระยะไกล จะเห็นเป็นลักษณะคล้ายมังกรกำลังเลื้อย สีขาวของหิมะที่ปกคลุมอยู่นั้นดูราวกับหยกขาว ที่ตัดกับสีน้ำเงินของท้องฟ้า คล้ายมังกรขาวบนฟากฟ้า ทิวเขาแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า ภูเขาหิมะมังกรหยก JADE DRAGON SNOW MOUNTAIN นักท่องเที่ยวสามารถนั่งกระเช้าไฟฟ้า ขึ้นสู่จุดชมวิวบนยอดเขาที่ความสูงกว่า 3,356 เมตร และสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 4,506 เมตร เพื่อชมวิวทิวทัศน์และธรรมชาติบนจุดที่สวยงามที่สุด ตลอดสองข้างทางที่ขึ้นยอดเขา ชื่นชมและดื่มด่ำกับความหนาวเย็นของธรรมชาติ อีกทั้งภูเขาหิมะมังกรหยกแห่งนี้ ยังเป็นที่มาของตำนาน ชนเผ่าน่าซี ที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบแถบนี้มานานนับพันปี ทิวเขาแห่งนี้มีพัมธุ์พืชปกคลุมอย่างหนาแน่น ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ดอกไม้ป่าจะผลิบานมีสีสันตระการตา ผู้คนจะพากันต้อนสัตว์เลี้ยง พวก แพะ แกะ และจามรีเพื่ออกมากินหญ้า

2.สระน้ำมังกรดำ  (Heillongtan, Black Dragon Pool) หรือที่รู้จักกันว่า สวนยู้วฉวน (Yuquan)ตั้งอยู่ในตัวเมืองลี่เจียง ห่างจากตัวเมืองเก่าลี่เจียงไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,390 ตารางเมตร สระน้ำมังกรดำมีจุดเด่นที่ความใสของน้ำที่ใสราวกับมรกต นอกจากนี้ ภายในสวนยังมีการสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่ผสมผสานวัฒนธรรมของชาวฮั่น ทิเบต และน่าซี ไว้ด้วยกัน


3.หุบเขาเสือกระโจน (Hutiaoxia) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างทางแยกของเมืองลี่เจียงและเมืองจงเตี้ยน เป็นหุบเขาในช่วงที่แม่น้ำแยงซีไหลลงมาจากจินซาเจียง (แม่น้ำทรายทอง) น้ำบริเวณนี้ไหลเชี่ยวมาก ช่วงที่แคบที่สุดมีความกว้างเพียง 30 เมตร ตามตำนานเล่าว่า ในอดีตช่องแคบนี้มีเสือกระโดดข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ เนื่องจากกลางแม่น้ำบริเวณนี้มีหินที่เรียกว่า “หินเสือกระโดด” ซึ่งก้อนหินมีความสูงกว่า 13 เมตร จึงเป็นที่มาของชื่อ “ช่องแคบเสือกระโดด” ช่องเขาเสือกระโจนเป็นหนึ่งในหุบเขาเหนือแม่น้ำที่ลึกที่สุดในโลก ผู้อยู่อาศัยในบริเวณนี้มีจำนวนเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมืองชาวหน่าซี โดยจะอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆบริเวณใกล้เคียง และหาเลี้ยงชีพโดยการเพาะปลูกและรับจ้างนำทางคนต่างถิ่น

4.โค้งแรกแม่น้ำแยงซี (Changjiangdiyiwan) แม่น้ำแยงซีที่ไหลผ่านเมืองลี่เจียงช่วงนี้มีชื่อว่า จินซา หรือเรียกเต็มๆว่า จินซาเจียง แปลว่าแม่น้ำทรายทอง ณจุดนี้เองที่แม่น้ำได้หักโค้งข้อศอกเป็นโค้งแรก ทำให้ไหลแยกจากแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขง ไปทางทิศตะวันออก ก่อให้เกิดอารยธรรมจีนที่ยิ่งใหญ่เมื่อหลายพันปีมาแล้ว กล่าวกันว่าถ้าไม่มีโค้งนี้ก็อาจไม่มีอารยธรรมจีนอันเกรียงไกร อีกทั้งจุดนี้ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ขบวนทัพของทั้งขงเบ้ง กุบไลข่าน ใช้เป็นจุดข้ามแม่น้ำแยงซีไปทำศึก และเหมาเจ๋อตงเดินทัพทางไกลหนีการล้อมปราบของพวกก๊กมินตั๋งห่างจากเมืองเก่าลี่เจียง 53 กิโลเมตร เกิดจากแม่น้ำแยงซี (หรือที่คนจีนเรียกว่า แม่น้ำฉางเจียง) ที่ไหลลงมาจากที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต มากระทบกับภูเขาไห่หลอ ทำให้ทิศทางของแม่น้ำหักโค้งไปทางทิตะวันออกเฉียงเหนือ จนเกิดเป็นโค้งน้ำที่สวยงาม

ปราสาทนครวัด

ปราสาทนครวัด
ปราสาทนครวัดเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ฝรั่งต่างชาติต่างยอมรับในความสวยงาม เราจะเห็นได้ว่า 5 ใน 7 ของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกล้วนแต่อยู่ในประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา  จะมีก็แต่เพียงปราสาทนครวัดและทัชมาฮาลเท่านั้นที่อยู่นอกประเทศทั้งสอง
    ปราสาทนครวัด เป็นประสาทศิลาแลงขนาดใหญ่โตมโหฬาร ที่ตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา จัดเป็นปราสาทศิลาขนาดใหญ่ที่ยังคงอยู่ ตระหง่านท้ากาลเวลานานหลายร้อยปี ผู้ที่สร้างนครวัดขึ้นมาเป็นพระองค์แรกคือพระเจ้าสุริยะวรมัน ที่ 2 โดยพระองค์มีพระประสงค์ที่จะยกพระฐานของกษัตริย์กัมพูชาให้เทียบเท่ากับเทพเจ้า ปราสาทนครวัดแห่งนี้จึงเป็นที่สถิตของพระวิษณุ เทพเจ้าสำคัญพระองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวกัมพูชา และพระองค์ทรงใช้สถานที่แห่งนี้ในการเผาพระบรมศพของพระองค์
    ต่อมาในยุคหลังกษัตริย์กัมพูชาองค์ต่อๆมา ได้ช่วยกันสานต่อเจตนาของบรรพบุรุษ มีการแต่งเติมและสิ่งก่อสร้างไปในแนวทางตามที่บรรพกษัตริย์ ในอดีตได้วางเอาไว้ ทำให้ชาวโลกมีโอกาสได้รับทราบถึงความเฉลียวฉลาดและความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันของชาวกัมพูชา
    ภายในบริเวณของตัวปราสาทจะรายล้อมไปด้วยอาคารต่างๆมากมาย มีถนนยาหลายกิโลเมตร มีคูคลอง อ่างเก็บน้ำเอาไว้ใช้ภายในตัวอาคารและทางเดินเชื่อมจากอาคารหนึ่งไปยังอีกหลังหนึ่ง ความสามารถของชาวกัมพูชาใช่ว่าจะด้อยไปกว่าชาติอื่นๆในโลก เพราะมีการจัดสร้างคูคลองเชื่อมต่อกันหลายสายทำให้มองดูเหมือนตาข่ายขนาดใหญ่ครอบตัวเมืองเอาไว้  ทั้งนี้เพราะในอดีตชีวิตของประชาชนจะอาศัยการเพาะปลูกเป็นหลักในการดำรงชีวิต  น้ำจึงเป็นเสมือนปัจจัยหลักสำคัญที่ช่วยให้การเพาะปลูกและการดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยดี
นอกจากความสามารถในการออกแบบตัวอาคารและการเชื่อมโยงคูคลองต่างๆเข้าหากันแล้วนั้น ตัวปราสาทนครวัดก็เป็นโบราณสถานที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะการแกะสลักอันปราณีตของชาวกัมพูชาในอดีต บนศิลาจะเต็มไปด้วยภาพแกะสลักตามความเชื่อในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตของเทวดาและอสูรหรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆในอดีต
เมื่อลองย้อนกลับไปดูในอดีต จะพบว่าในยุคหลังต่อมา พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ได้สถาปนาเมืองแห่งนี้เป็นเมืองหลวง มีชื่อว่า ยโสธรปุระ ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นยังไม่ได้มีขนาดใหญ่โตอะไรมากมายนัก แต่ต่อมาภายหลังพระองค์ทรงวางแผนที่จะขุดคูน้ำล้อมรอบพื้นที่ มีการขุดสระเพื่อทำเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตร และกษัตริย์ในรุ่นหลังๆก็ได้ปฏิบัติตามแนวพระราชดำริ ทำให้ตัวเมืองขยายใหญ่มากขึ้น
สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดสังเกตุและเป็นที่ที่ทุกคนเข้าเยี่ยมชมจะต้องไปดูกันให้ได้ก็คือ ภาพใบหน้าที่เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มที่ปรากฎอยู่บนอาคาร ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "รอยยิ้มแห่งพระนคร"ทุกวันนี้ถึงแม้ว่าปราสาทวัดจะเหลือไว้แค่ซากปรักหักพัง แต่ก็ยังไว้ซึ่งมนคลัง และมนเสน่ห์ที่ชวนให้คิดถึงความเจริญรุ่งเรืองในครั้งอดีตของสถานที่แห่งนี้อยู่มิรู้ลืม


2011年6月21日星期二

ทฤษฎีการอพยพของคนไทย...คนมาจากใหน

กทฤษฎีการอพยพของคนไทย คนไทยมาจากไหน

ทฤษฎีว่าด้วยเรื่องแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเก่า และทฤษฎีใหม่
1. ทฤษฎีเก่า
นักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาสันนิษฐานว่าชนชาติไทยนั้น แต่เดิมมีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ของจีน แถบมณฑลกวางตุ้งปัจจุบันนี้ ก่อนคริสตศักราช หรือ 485 ปีก่อนพุทธศักราช ราชวงศ์โจวซึ่งเป็น จีนแท้ได้โจมตีราชวงศ์สางสำเร็จ ชนชาติไทยจึงได้อพยพลงมาตามลำน้ำแยงซีไปยังมณฑลเสฉวนและยูนนาน โดยมีเมือง สำคัญที่จารึกไว้ในจดหมายเหตุของจีน คือ เมืองเฉินตู และคุนมิง ในศตวรรษที่ 13 ชนชาติไทยจึงกระจัดกระจายไปในที่ ต่าง ๆ แถบแคว้นยูนนานของประเทศจีนปัจจุบัน
สำหรับแนวคิดเรื่องการถอยร่นลงมาจากเสฉวนจนถึงยูนนานนั้น ได้เป็นที่ยอมรับของ ดร.ขจร สุขพานิช นักประวัติ ศาสตร์ไทยซึ่งได้ใช้เวลาศึกษาแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหลายปี ท่านได้เขียนหนังสือชื่อ "ถิ่นกำเนิดและแนวการอพยพ ของเผ่าไทย" คล้ายกับความคิดเห็นของ Wolfram Eberhard และยังได้เพิ่มเติมว่าก่อนอพยพเข้ามาที่อาณาจักรน่าน เจ้านั้น ชนชาติไทยเคยตั้งอาณาจักรที่มณฑลกวางตุ้งมาก่อนแล้ว
จากศตวรรษที่ 13-15 ชนชาติไทยสามารถรวมตัวกันเป็นอาณาจักรขึ้นมาได้ เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า แปลว่า "เจ้า ทิศใต้" ซึ่งก็ได้สูญสิ้นชื่อไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 1796 เพราะจักรพรรดิจีนองค์แรกในราชวงศ์หยวน คือ พระเจ้ากุบไลข่าน ผู้นำชาติมองโกลได้ยกทัพมาตีน่านเจ้าแตกไป ชนชาติไทยจึงต้องอพยพลงมาในแหลมอินโดจีนในดินแดนที่ต่อมาได้ชื่อว่า อาณาจักรเชียงแสน หรือล้านนาไทย ต้องต่อสู้กับพวกชนชาติที่อยู่เดิม คือ พวกละว้า และพวกขอมดำ ขณะเดียวกันชนชาติ ไทยบางพวกก็อพยพลงมาอยู่ที่แคว้นสามเทศ หรือสยามเทศ ซึ่งต่อมาเป็นแคว้นสุโขทัย และขณะนั้นอยู่ภายใต้การ ปกครองของอาณาจักรเขมรลพบุรี เมื่อพวกไทยรวมตัวกันและมีพลังมากขึ้นก็รวมตัวกันตั้งเป็นแคว้นอิสระ มีเมืองสุโขทัย เป็นราชธานีเมื่อปี พ.ศ. 1781 George Caedes ชาวฝรั่งเศส ผู้สนับสนุนทฤษฎีเก่านี้ สรุปว่าชนชาติไทยนั้นอพยพจากเหนือลงใต้ โดยอาศัย แม่น้ำเป็นหลัก เป็นการอพยพอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่ออาณาจักรน่านเจ้าถูกมองโกลรุกราน คนไทยจำนวนมากได้อาศัย ลำน้ำ 2 สาย คือ ลำน้ำโขง แล้วมาตั้งหลักแหล่งที่อาณาจักรล้านช้าง (เวียงจันทน์และหลวงพระบาง) บ้าง ที่ล้านนา (เชียงใหม่ เชียงแสน) บ้าง และที่สุโขทัย ส่วนที่อพยพไปตามลำน้ำสาละวินนั้นได้ไปตั้งหลักแหล่งถึงแคว้นอัสสัมของ อินเดียและรัฐฉานของพม่าก็มี

2. ทฤษฎีใหม่
นักโบราณคดีเสนอข้อสรุปว่าแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยนั้นก็คือ บริเวณภาคอีสานของไทย และแถบจังหวัด กาญจนบุรีของไทยปัจจุบัน มิได้อพยพมาจากตอนใต้ของประเทศจีนอย่างทฤษฎีเก่าอ้างไว้ แต่ถ้าหากจะมีการอพยพจริงก็ คงจะเป็นการอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ เช่น อพยพขึ้นไปอยู่แถบแคว้นสิบสองจุไทย และแคว้น ยูนนาน เพราะได้มีการพบ หลักฐานที่นักโบราณคดีขุดค้นหาซากโบราณที่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี โดยการใช้ C14 ทดสอบ ทำให้ทราบอายุของโครงกระดูกที่กาญจนบุรี ว่ามีอายุเก่าแก่ถึง 5-6 พันปี
นายแพทย์สมศักดิ์ สุวรรณสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช ทำการศึกษาความหนาแน่นของ กลุ่มเลือด ได้พบว่ากลุ่มเลือดของคนไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับคนภาคใต้ในชวา จึงเสนอความเห็นสนับสนุนทฤษฏีว่า ชนชาติไทยอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ คือ อพยพจากเกาะชวาขึ้นมาอยู่ที่แผ่นดินใหญ่
เรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรน่านเจ้านั้นก็มีนักทฤษฎีใหม่ชื่อ Frederick Mote เขียนไว้ใน "ปัญหาก่อนประวัติศาสตร์" ว่าชนกลุ่มใหญ่ในอาณาจักรน่านเจ้าไม่ใช่ไทย แต่ไทยนั้นมีแหล่งกำเนิดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ต่อมาถูกขอมและ เขมรรุกรานจึงอพยพขึ้นไปทางเหนือ แต่แบ่งแยกออกเป็นหลายพวก เข้าไปในเวียดนามที่เกาะไหหลำและที่แคว้นยูนนาน
นอกจากนั้นแล้วนักประวัติศาสตร์จีน 2 คน คือ ตูยูตินและเชนลูฟาน (Tu Yu-tin และ Chen Lu-fan) เขียนบท ความเรื่อง "ชัยชนะของกุบไลข่านเหนือเมืองตาลีโกว (ตาลีฟู)" ได้ทำให้คนไทยจำนวนมากอพยพลงมาทางใต้หรือไม่ โดยศึกษาเอกสารของจีนในราชวงศ์หยวนและเหม็ง พบว่า เมื่อกุบไลข่านยกมาตีน่านเจ้านั้นได้ตกลงกันอย่างสันติวิธี มิได้มี การโจมตีอย่างรุนแรงจนทำให้ไทยต้องอพยพมาครั้งใหญ่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 1924 น่านเจ้าจึงสิ้นสุดลงเมื่อราชวงศ์เหม็ง ยึดอำนาจจากมองโกล ได้รวมน่านเจ้าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจีน ตอนนี้เองจึงได้มีการอพยพ ทั้งนี้ได้เสนอว่าคนไทยที่อยู่ น่านเจ้านั้นเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยใน 6 กลุ่ม ถิ่นกำเนิดของชาติไทยแต่เริ่มแรกจึงอยู่ที่ภาคเหนือของไทยปัจจุบันนี้ มิได้ อพยพมาจากจีนตอนใต้ และไทยในน่านเจ้าไม่เคยอพยพลงมาที่ประเทศไทยปัจจุบัน ดังนั้น ไทยในน่านเจ้าและ ไทย ปัจจุบันนี้จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน
สรุป
สำหรับทฤษฎีใหม่นั้นถูกโจมตีว่าหละหลวมจนเกินไป เพราะโครงกระดูกที่พบอาจมิใช่โครงกระดูกของคนไทยก็เป็น ไปได้ ส่วนกลุ่มเลือดของคนที่ตรวจนั้นก็อาจจะมิใช่คนไทยแท้ เพราะมีการผสมกันมานานหลายเผ่าพันธุ์ อย่างไรก็ตาม มีการยอมรับทฤษฎีเก่ากันอยู่ เพราะว่ามีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรแน่ชัดกว่า

และส่วนที่ไทยไปนุ่งผ้าคล้ายถกเขมรเข้า จะมาคิดตื้น ๆ ว่าเป็นไทยผสมขอมไม่ได้ เพราะถ้าคิดตื้นแบบนั้นปัจจุบันไทยคงต้องผสมฝรั่งแล้วล่ะสิ เพราะเห็นแต่งตามฝรั่งกันทั้งบ้านทั้งเมือง....

ที่มา:

1. มาจากเทือกเขาอัลไต นี่เก๋ากึ๊กมาก ปัจจุบันไม่เชื่อกันแล้ว เพราะมันไกลมากเกินไป คนไทยจะตายเสียก่อนถึงสยาม
2. มาจากตอนกลางของจีน นี่ก็เก่า เขาไม่ get กันอีกเพราะว่า เราเป็นคนเมืองร้อน แต่ตอนกลางของจีนเป็นเมืองหนาว คนเราไม่น่าจะเปลี่ยนง่าย และเราไม่มีวัฒนธรรมของชาวหนาวเท่าใดนัก มีแต่วัฒนธรรมเมืองร้อน ว่างั้น
3. มาจากตอนใต้ของจีน ok เป็นที่ยอมรับกัน เพราะมีหลักฐานตำนาน นิยาย และสายพันธุ์ที่ต่อเนื่องกัน ร้อนเหมือนกัน วัฒนธรรม ภาษาใกล้เคียง
4. มาจากตอนใต้ของไทย นี่คุณหมอทั้งหลายแหวกแนวออกไป เพราะไปตรวจเลือดแล้วบอกว่าเราไม่มีส่วนคล้ายจีน กลับคล้ายแขกอินโดชวาอะไรโน่น นี่ก็หาหลักฐานมาแย้งกันหน่อย ยังไม่ยุติหรอก
5. ไม่มาจากไหน คนไทยอยู่ที่นี่ โดดเด่นมาก เพราะพบโครงกระดูกและวัฒนธรรมเก่าแก่มากมาย เช่น บ้านเชียง ถ้ำผี แสดงว่าเราอยู่นี่มานานแสนนาน แต่ยังไม่ชี้ชัดได้ว่า โครงกระดูกเหล่านั้นมีชื่อสกุลเป็นไทยหรือเปล่า

นักวิชาการเขาคงเถียงกันต่อไป นักเรียนก็ต้องตอบ 5 แนวคิดนะไม่งั้นตก เราชาวบ้านก็เอามารวมกันเป็นแกงโฮะ คือรวมๆ กันนั่นแหละ คนไทยมาจากหลายที่หลายแห่งมาผสมสายพันธุ์กันจนกลายเป็นไทยหลายพรรคการเมืองนี่ไง เนาะ

2011年6月14日星期二

ประวัติศาสตร์คืออะไร

คำว่า “ประวัติศาสตร์” ใช้กันใน 2 ลักษณะคือ

ประวัติศาสตร์ หมายถึง เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ หรือสร้างแนวความคิดไว้ทั้งหมด รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากเจตจำนงของมนุษย์ ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือธรรมชาติที่มีผลต่อมนุษยชาติ

ประวัติศาสตร์ ได้แก่ เหตุการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ได้สืบสวนค้นคว้าแสวงหาหลักฐานมารวบรวมและเรียบเรียงขึ้น เนื่องจากเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตมีขอบเขตกว้างขวาง และมีความสำคัญแตกต่างมากน้อยลดหลั่นกันไป นักวิทยาศาสตร์จึงหยิบยกขึ้นมาศึกษาเฉพาะแต่สิ่งที่ตนเห็นว่ามีความหมายและมีความสำคัญ

หลักฐานประวัติศาสตร์มีอะไรบ้าง

การแบ่งประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
๑) แบ่งตามยุคสมัย      
(๑) หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยที่ยังไม่มีการบันทึกเป็นอักษร แต่เป็นพวกซากโครงกระดูกมนุษย์ ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ตลอดจนความพยายามที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ในลักษณะของการบอกเล่าต่อๆกันมา เป็นนิทานหรือตำนานซึ่งเราเรียกว่า “มุขปาฐะ”
(๒) หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานสมัยที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ตัวอักษร และบันทึกในวัสดุต่างๆ มีร่องรอยที่แน่นอนเกี่ยวกับสังคมเมือง มีการรู้จักใช้เหล็ก และโลหะอื่นๆ มาเป็นเครื่องมือใช้สอยที่ปราณีต มีร่องรอยศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาอย่างชัดเจน

๒) แบ่งตามลักษณะหรือวิธีการบันทึก
(๑) หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ เอกสารทางวิชาการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม ตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ในการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีการเน้นการฝึกฝนทักษะการใช้หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร เป็นส่วนใหญ่ จนอาจกล่าวได้ว่าหลักฐานประเภทนี้เป็นแก่นของงานทางประวัติศาสตร์ไทย
(๒) หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เงินตรา หลักฐานจากการบอกเล่า ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” หลักฐานด้านภาษา เกี่ยวกับพัฒนาการของภาษาพูด หลักฐานทางศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ หลักฐานประเภทโสตทัศน์ ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพสไสด์ แผนที่ โปสเตอร์ แถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง ภาพยนตร์ ดวงตราไปรษณียากร

๓) แบ่งตามลำดับความสำคัญ
(๑) หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ (Primary sources) หมายถึง หลักฐานที่บันทึก สร้าง หรือจัดทำขึ้น โดยผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง หรือบ่งบอกให้รู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น สนธิสัญญา บันทึกคำให้การ จดหมายเหตุ กฎหมาย ประกาศของทางราชการ ศิลาจารึก จดหมายโต้ตอบ และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ภาพเขียนสีผนังถ้ำ เครื่องมือเคื่องใช้ เครื่องประดับ เจดีย์
(๒) หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ (Secondary sources) หมายถึง หลักฐานที่เกิดจากการนำหลักฐานชั้นต้นมาวิเคราะห์ ตีความเมื่อเวลาผ่านพ้นไปแล้ว ได้แก่ ตำนาน พงศาวดาร
นักประวัติศาสตร์บางท่านยังได้แบ่งหลักฐานประวัติศาสตร์ออกไปอีกเป็น หลักฐานชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (Tertiary sources) หมายถึง หลักฐานที่เขียนหรือรวบรวมขึ้น จากหลักฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาอ้างอิง เช่น สารานุกรม หนังสือแบบเรียน และบทความทางประวัติศาสตร์ต่างๆ