2011年6月26日星期日

แหล่งท่องเที่ยวของจีน ลี่เจียง (แชงกรีลา)

ลี่เจียง (แชงกรีลา) ลี่เจียง มีพื้นที่ 20,600 ตารางกิโลเมตรตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน มีเขตแนวติดเทือกเขาทิเบตและเทือกเขายูนกุย เป็นเขตการปกครองที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเขตเมืองและเขตชนบททางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีย่านเมืองเก่าลี่เจียงที่มีชื่อเสียงมาก ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เมืองเก่าต้าเหยียน พื้นที่ 95% เป็นภูเขา มีประชากร 1.125 ล้านคน มีชนเผ่า 23 เผ่าอาศัย แต่มีเผ่าดั้งเดิมจำนวน 12 เผ่า ซึ่งชนเผ่าน่าซี (Naxi) ถือเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยในลี่เจียงมากที่สุด

ย่านเมืองเก่าลี่เจียงมีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปได้มากกว่า 800 ปี และเคยเป็นจุดแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้าตามเส้นทางสาย Tea Horse สายเก่า ย่านเมืองเก่านี้มีชื่อเสียงจากคูคลองและสะพานที่มีอยู่มากมาย จนได้รับการขนานนามว่า "เวนิสแห่งตะวันออก"เมืองเก่าลี่เจียงมีสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมแตกต่างไปจากเมืองโบราณอื่นๆของจีน เนื่องจากเป็นเมืองที่เป็นที่ตั้งรกรากของชาวหน่าซี หรือนาสี มาตั้งแต่สมัยโบราณ


มรดกโลก
วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ย่านเมืองเก่าลี่เจียง (ต้าเหยียน ไป๋ซา และซูเหอ) ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ตั้งแต่นั้นมา ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับภาระหน้าที่ในการพัฒนาและอนุรักษ์ย่านเมือง เก่ามากขึ้น และยังทำให้เมืองนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น จนมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางมาเยี่ยมชมเมืองเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็ทำให้ชาวเมืองเกรงว่ากระแสการท่องเที่ยวและการพัฒนาที่หลั่ง ไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว จะทำให้เมืองนี้สูญเสียเอกลักษณ์และมนต์เสน่ห์ที่น่าประทับใจไป

พ.ศ. 2550 เมืองลี่เจียงของมณฑลยูนนานได้รับคัดเลือกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวดีเด่นทางวัฒนธรรมจีน
สถานที่ท่องเที่ยว
1.ภูเขาหิมะมังกรหยก หรือ อวี้หลงเซี่ยซาน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเก่าลี่เจียง เป็นภูเขาสูงที่ตั้งตระหง่าน ซึ่งมีหิมะปกคลุมอยู่ตลอดทั้งปี ทิวเขาแห่งนี้ประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งหุบห้วย ธารน้ำ แนวผา และทุ่งหญ้าน่าซี ทิวเขาแห่งนี้เมื่อมองจากระยะไกล จะเห็นเป็นลักษณะคล้ายมังกรกำลังเลื้อย สีขาวของหิมะที่ปกคลุมอยู่นั้นดูราวกับหยกขาว ที่ตัดกับสีน้ำเงินของท้องฟ้า คล้ายมังกรขาวบนฟากฟ้า ทิวเขาแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า ภูเขาหิมะมังกรหยก JADE DRAGON SNOW MOUNTAIN นักท่องเที่ยวสามารถนั่งกระเช้าไฟฟ้า ขึ้นสู่จุดชมวิวบนยอดเขาที่ความสูงกว่า 3,356 เมตร และสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 4,506 เมตร เพื่อชมวิวทิวทัศน์และธรรมชาติบนจุดที่สวยงามที่สุด ตลอดสองข้างทางที่ขึ้นยอดเขา ชื่นชมและดื่มด่ำกับความหนาวเย็นของธรรมชาติ อีกทั้งภูเขาหิมะมังกรหยกแห่งนี้ ยังเป็นที่มาของตำนาน ชนเผ่าน่าซี ที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบแถบนี้มานานนับพันปี ทิวเขาแห่งนี้มีพัมธุ์พืชปกคลุมอย่างหนาแน่น ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ดอกไม้ป่าจะผลิบานมีสีสันตระการตา ผู้คนจะพากันต้อนสัตว์เลี้ยง พวก แพะ แกะ และจามรีเพื่ออกมากินหญ้า

2.สระน้ำมังกรดำ  (Heillongtan, Black Dragon Pool) หรือที่รู้จักกันว่า สวนยู้วฉวน (Yuquan)ตั้งอยู่ในตัวเมืองลี่เจียง ห่างจากตัวเมืองเก่าลี่เจียงไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,390 ตารางเมตร สระน้ำมังกรดำมีจุดเด่นที่ความใสของน้ำที่ใสราวกับมรกต นอกจากนี้ ภายในสวนยังมีการสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่ผสมผสานวัฒนธรรมของชาวฮั่น ทิเบต และน่าซี ไว้ด้วยกัน


3.หุบเขาเสือกระโจน (Hutiaoxia) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างทางแยกของเมืองลี่เจียงและเมืองจงเตี้ยน เป็นหุบเขาในช่วงที่แม่น้ำแยงซีไหลลงมาจากจินซาเจียง (แม่น้ำทรายทอง) น้ำบริเวณนี้ไหลเชี่ยวมาก ช่วงที่แคบที่สุดมีความกว้างเพียง 30 เมตร ตามตำนานเล่าว่า ในอดีตช่องแคบนี้มีเสือกระโดดข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ เนื่องจากกลางแม่น้ำบริเวณนี้มีหินที่เรียกว่า “หินเสือกระโดด” ซึ่งก้อนหินมีความสูงกว่า 13 เมตร จึงเป็นที่มาของชื่อ “ช่องแคบเสือกระโดด” ช่องเขาเสือกระโจนเป็นหนึ่งในหุบเขาเหนือแม่น้ำที่ลึกที่สุดในโลก ผู้อยู่อาศัยในบริเวณนี้มีจำนวนเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมืองชาวหน่าซี โดยจะอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆบริเวณใกล้เคียง และหาเลี้ยงชีพโดยการเพาะปลูกและรับจ้างนำทางคนต่างถิ่น

4.โค้งแรกแม่น้ำแยงซี (Changjiangdiyiwan) แม่น้ำแยงซีที่ไหลผ่านเมืองลี่เจียงช่วงนี้มีชื่อว่า จินซา หรือเรียกเต็มๆว่า จินซาเจียง แปลว่าแม่น้ำทรายทอง ณจุดนี้เองที่แม่น้ำได้หักโค้งข้อศอกเป็นโค้งแรก ทำให้ไหลแยกจากแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขง ไปทางทิศตะวันออก ก่อให้เกิดอารยธรรมจีนที่ยิ่งใหญ่เมื่อหลายพันปีมาแล้ว กล่าวกันว่าถ้าไม่มีโค้งนี้ก็อาจไม่มีอารยธรรมจีนอันเกรียงไกร อีกทั้งจุดนี้ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ขบวนทัพของทั้งขงเบ้ง กุบไลข่าน ใช้เป็นจุดข้ามแม่น้ำแยงซีไปทำศึก และเหมาเจ๋อตงเดินทัพทางไกลหนีการล้อมปราบของพวกก๊กมินตั๋งห่างจากเมืองเก่าลี่เจียง 53 กิโลเมตร เกิดจากแม่น้ำแยงซี (หรือที่คนจีนเรียกว่า แม่น้ำฉางเจียง) ที่ไหลลงมาจากที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต มากระทบกับภูเขาไห่หลอ ทำให้ทิศทางของแม่น้ำหักโค้งไปทางทิตะวันออกเฉียงเหนือ จนเกิดเป็นโค้งน้ำที่สวยงาม

ปราสาทนครวัด

ปราสาทนครวัด
ปราสาทนครวัดเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ฝรั่งต่างชาติต่างยอมรับในความสวยงาม เราจะเห็นได้ว่า 5 ใน 7 ของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกล้วนแต่อยู่ในประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา  จะมีก็แต่เพียงปราสาทนครวัดและทัชมาฮาลเท่านั้นที่อยู่นอกประเทศทั้งสอง
    ปราสาทนครวัด เป็นประสาทศิลาแลงขนาดใหญ่โตมโหฬาร ที่ตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา จัดเป็นปราสาทศิลาขนาดใหญ่ที่ยังคงอยู่ ตระหง่านท้ากาลเวลานานหลายร้อยปี ผู้ที่สร้างนครวัดขึ้นมาเป็นพระองค์แรกคือพระเจ้าสุริยะวรมัน ที่ 2 โดยพระองค์มีพระประสงค์ที่จะยกพระฐานของกษัตริย์กัมพูชาให้เทียบเท่ากับเทพเจ้า ปราสาทนครวัดแห่งนี้จึงเป็นที่สถิตของพระวิษณุ เทพเจ้าสำคัญพระองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวกัมพูชา และพระองค์ทรงใช้สถานที่แห่งนี้ในการเผาพระบรมศพของพระองค์
    ต่อมาในยุคหลังกษัตริย์กัมพูชาองค์ต่อๆมา ได้ช่วยกันสานต่อเจตนาของบรรพบุรุษ มีการแต่งเติมและสิ่งก่อสร้างไปในแนวทางตามที่บรรพกษัตริย์ ในอดีตได้วางเอาไว้ ทำให้ชาวโลกมีโอกาสได้รับทราบถึงความเฉลียวฉลาดและความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันของชาวกัมพูชา
    ภายในบริเวณของตัวปราสาทจะรายล้อมไปด้วยอาคารต่างๆมากมาย มีถนนยาหลายกิโลเมตร มีคูคลอง อ่างเก็บน้ำเอาไว้ใช้ภายในตัวอาคารและทางเดินเชื่อมจากอาคารหนึ่งไปยังอีกหลังหนึ่ง ความสามารถของชาวกัมพูชาใช่ว่าจะด้อยไปกว่าชาติอื่นๆในโลก เพราะมีการจัดสร้างคูคลองเชื่อมต่อกันหลายสายทำให้มองดูเหมือนตาข่ายขนาดใหญ่ครอบตัวเมืองเอาไว้  ทั้งนี้เพราะในอดีตชีวิตของประชาชนจะอาศัยการเพาะปลูกเป็นหลักในการดำรงชีวิต  น้ำจึงเป็นเสมือนปัจจัยหลักสำคัญที่ช่วยให้การเพาะปลูกและการดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยดี
นอกจากความสามารถในการออกแบบตัวอาคารและการเชื่อมโยงคูคลองต่างๆเข้าหากันแล้วนั้น ตัวปราสาทนครวัดก็เป็นโบราณสถานที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะการแกะสลักอันปราณีตของชาวกัมพูชาในอดีต บนศิลาจะเต็มไปด้วยภาพแกะสลักตามความเชื่อในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตของเทวดาและอสูรหรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆในอดีต
เมื่อลองย้อนกลับไปดูในอดีต จะพบว่าในยุคหลังต่อมา พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ได้สถาปนาเมืองแห่งนี้เป็นเมืองหลวง มีชื่อว่า ยโสธรปุระ ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นยังไม่ได้มีขนาดใหญ่โตอะไรมากมายนัก แต่ต่อมาภายหลังพระองค์ทรงวางแผนที่จะขุดคูน้ำล้อมรอบพื้นที่ มีการขุดสระเพื่อทำเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตร และกษัตริย์ในรุ่นหลังๆก็ได้ปฏิบัติตามแนวพระราชดำริ ทำให้ตัวเมืองขยายใหญ่มากขึ้น
สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดสังเกตุและเป็นที่ที่ทุกคนเข้าเยี่ยมชมจะต้องไปดูกันให้ได้ก็คือ ภาพใบหน้าที่เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มที่ปรากฎอยู่บนอาคาร ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "รอยยิ้มแห่งพระนคร"ทุกวันนี้ถึงแม้ว่าปราสาทวัดจะเหลือไว้แค่ซากปรักหักพัง แต่ก็ยังไว้ซึ่งมนคลัง และมนเสน่ห์ที่ชวนให้คิดถึงความเจริญรุ่งเรืองในครั้งอดีตของสถานที่แห่งนี้อยู่มิรู้ลืม


2011年6月21日星期二

ทฤษฎีการอพยพของคนไทย...คนมาจากใหน

กทฤษฎีการอพยพของคนไทย คนไทยมาจากไหน

ทฤษฎีว่าด้วยเรื่องแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเก่า และทฤษฎีใหม่
1. ทฤษฎีเก่า
นักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาสันนิษฐานว่าชนชาติไทยนั้น แต่เดิมมีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ของจีน แถบมณฑลกวางตุ้งปัจจุบันนี้ ก่อนคริสตศักราช หรือ 485 ปีก่อนพุทธศักราช ราชวงศ์โจวซึ่งเป็น จีนแท้ได้โจมตีราชวงศ์สางสำเร็จ ชนชาติไทยจึงได้อพยพลงมาตามลำน้ำแยงซีไปยังมณฑลเสฉวนและยูนนาน โดยมีเมือง สำคัญที่จารึกไว้ในจดหมายเหตุของจีน คือ เมืองเฉินตู และคุนมิง ในศตวรรษที่ 13 ชนชาติไทยจึงกระจัดกระจายไปในที่ ต่าง ๆ แถบแคว้นยูนนานของประเทศจีนปัจจุบัน
สำหรับแนวคิดเรื่องการถอยร่นลงมาจากเสฉวนจนถึงยูนนานนั้น ได้เป็นที่ยอมรับของ ดร.ขจร สุขพานิช นักประวัติ ศาสตร์ไทยซึ่งได้ใช้เวลาศึกษาแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหลายปี ท่านได้เขียนหนังสือชื่อ "ถิ่นกำเนิดและแนวการอพยพ ของเผ่าไทย" คล้ายกับความคิดเห็นของ Wolfram Eberhard และยังได้เพิ่มเติมว่าก่อนอพยพเข้ามาที่อาณาจักรน่าน เจ้านั้น ชนชาติไทยเคยตั้งอาณาจักรที่มณฑลกวางตุ้งมาก่อนแล้ว
จากศตวรรษที่ 13-15 ชนชาติไทยสามารถรวมตัวกันเป็นอาณาจักรขึ้นมาได้ เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า แปลว่า "เจ้า ทิศใต้" ซึ่งก็ได้สูญสิ้นชื่อไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 1796 เพราะจักรพรรดิจีนองค์แรกในราชวงศ์หยวน คือ พระเจ้ากุบไลข่าน ผู้นำชาติมองโกลได้ยกทัพมาตีน่านเจ้าแตกไป ชนชาติไทยจึงต้องอพยพลงมาในแหลมอินโดจีนในดินแดนที่ต่อมาได้ชื่อว่า อาณาจักรเชียงแสน หรือล้านนาไทย ต้องต่อสู้กับพวกชนชาติที่อยู่เดิม คือ พวกละว้า และพวกขอมดำ ขณะเดียวกันชนชาติ ไทยบางพวกก็อพยพลงมาอยู่ที่แคว้นสามเทศ หรือสยามเทศ ซึ่งต่อมาเป็นแคว้นสุโขทัย และขณะนั้นอยู่ภายใต้การ ปกครองของอาณาจักรเขมรลพบุรี เมื่อพวกไทยรวมตัวกันและมีพลังมากขึ้นก็รวมตัวกันตั้งเป็นแคว้นอิสระ มีเมืองสุโขทัย เป็นราชธานีเมื่อปี พ.ศ. 1781 George Caedes ชาวฝรั่งเศส ผู้สนับสนุนทฤษฎีเก่านี้ สรุปว่าชนชาติไทยนั้นอพยพจากเหนือลงใต้ โดยอาศัย แม่น้ำเป็นหลัก เป็นการอพยพอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่ออาณาจักรน่านเจ้าถูกมองโกลรุกราน คนไทยจำนวนมากได้อาศัย ลำน้ำ 2 สาย คือ ลำน้ำโขง แล้วมาตั้งหลักแหล่งที่อาณาจักรล้านช้าง (เวียงจันทน์และหลวงพระบาง) บ้าง ที่ล้านนา (เชียงใหม่ เชียงแสน) บ้าง และที่สุโขทัย ส่วนที่อพยพไปตามลำน้ำสาละวินนั้นได้ไปตั้งหลักแหล่งถึงแคว้นอัสสัมของ อินเดียและรัฐฉานของพม่าก็มี

2. ทฤษฎีใหม่
นักโบราณคดีเสนอข้อสรุปว่าแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยนั้นก็คือ บริเวณภาคอีสานของไทย และแถบจังหวัด กาญจนบุรีของไทยปัจจุบัน มิได้อพยพมาจากตอนใต้ของประเทศจีนอย่างทฤษฎีเก่าอ้างไว้ แต่ถ้าหากจะมีการอพยพจริงก็ คงจะเป็นการอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ เช่น อพยพขึ้นไปอยู่แถบแคว้นสิบสองจุไทย และแคว้น ยูนนาน เพราะได้มีการพบ หลักฐานที่นักโบราณคดีขุดค้นหาซากโบราณที่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี โดยการใช้ C14 ทดสอบ ทำให้ทราบอายุของโครงกระดูกที่กาญจนบุรี ว่ามีอายุเก่าแก่ถึง 5-6 พันปี
นายแพทย์สมศักดิ์ สุวรรณสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช ทำการศึกษาความหนาแน่นของ กลุ่มเลือด ได้พบว่ากลุ่มเลือดของคนไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับคนภาคใต้ในชวา จึงเสนอความเห็นสนับสนุนทฤษฏีว่า ชนชาติไทยอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ คือ อพยพจากเกาะชวาขึ้นมาอยู่ที่แผ่นดินใหญ่
เรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรน่านเจ้านั้นก็มีนักทฤษฎีใหม่ชื่อ Frederick Mote เขียนไว้ใน "ปัญหาก่อนประวัติศาสตร์" ว่าชนกลุ่มใหญ่ในอาณาจักรน่านเจ้าไม่ใช่ไทย แต่ไทยนั้นมีแหล่งกำเนิดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ต่อมาถูกขอมและ เขมรรุกรานจึงอพยพขึ้นไปทางเหนือ แต่แบ่งแยกออกเป็นหลายพวก เข้าไปในเวียดนามที่เกาะไหหลำและที่แคว้นยูนนาน
นอกจากนั้นแล้วนักประวัติศาสตร์จีน 2 คน คือ ตูยูตินและเชนลูฟาน (Tu Yu-tin และ Chen Lu-fan) เขียนบท ความเรื่อง "ชัยชนะของกุบไลข่านเหนือเมืองตาลีโกว (ตาลีฟู)" ได้ทำให้คนไทยจำนวนมากอพยพลงมาทางใต้หรือไม่ โดยศึกษาเอกสารของจีนในราชวงศ์หยวนและเหม็ง พบว่า เมื่อกุบไลข่านยกมาตีน่านเจ้านั้นได้ตกลงกันอย่างสันติวิธี มิได้มี การโจมตีอย่างรุนแรงจนทำให้ไทยต้องอพยพมาครั้งใหญ่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 1924 น่านเจ้าจึงสิ้นสุดลงเมื่อราชวงศ์เหม็ง ยึดอำนาจจากมองโกล ได้รวมน่านเจ้าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจีน ตอนนี้เองจึงได้มีการอพยพ ทั้งนี้ได้เสนอว่าคนไทยที่อยู่ น่านเจ้านั้นเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยใน 6 กลุ่ม ถิ่นกำเนิดของชาติไทยแต่เริ่มแรกจึงอยู่ที่ภาคเหนือของไทยปัจจุบันนี้ มิได้ อพยพมาจากจีนตอนใต้ และไทยในน่านเจ้าไม่เคยอพยพลงมาที่ประเทศไทยปัจจุบัน ดังนั้น ไทยในน่านเจ้าและ ไทย ปัจจุบันนี้จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน
สรุป
สำหรับทฤษฎีใหม่นั้นถูกโจมตีว่าหละหลวมจนเกินไป เพราะโครงกระดูกที่พบอาจมิใช่โครงกระดูกของคนไทยก็เป็น ไปได้ ส่วนกลุ่มเลือดของคนที่ตรวจนั้นก็อาจจะมิใช่คนไทยแท้ เพราะมีการผสมกันมานานหลายเผ่าพันธุ์ อย่างไรก็ตาม มีการยอมรับทฤษฎีเก่ากันอยู่ เพราะว่ามีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรแน่ชัดกว่า

และส่วนที่ไทยไปนุ่งผ้าคล้ายถกเขมรเข้า จะมาคิดตื้น ๆ ว่าเป็นไทยผสมขอมไม่ได้ เพราะถ้าคิดตื้นแบบนั้นปัจจุบันไทยคงต้องผสมฝรั่งแล้วล่ะสิ เพราะเห็นแต่งตามฝรั่งกันทั้งบ้านทั้งเมือง....

ที่มา:

1. มาจากเทือกเขาอัลไต นี่เก๋ากึ๊กมาก ปัจจุบันไม่เชื่อกันแล้ว เพราะมันไกลมากเกินไป คนไทยจะตายเสียก่อนถึงสยาม
2. มาจากตอนกลางของจีน นี่ก็เก่า เขาไม่ get กันอีกเพราะว่า เราเป็นคนเมืองร้อน แต่ตอนกลางของจีนเป็นเมืองหนาว คนเราไม่น่าจะเปลี่ยนง่าย และเราไม่มีวัฒนธรรมของชาวหนาวเท่าใดนัก มีแต่วัฒนธรรมเมืองร้อน ว่างั้น
3. มาจากตอนใต้ของจีน ok เป็นที่ยอมรับกัน เพราะมีหลักฐานตำนาน นิยาย และสายพันธุ์ที่ต่อเนื่องกัน ร้อนเหมือนกัน วัฒนธรรม ภาษาใกล้เคียง
4. มาจากตอนใต้ของไทย นี่คุณหมอทั้งหลายแหวกแนวออกไป เพราะไปตรวจเลือดแล้วบอกว่าเราไม่มีส่วนคล้ายจีน กลับคล้ายแขกอินโดชวาอะไรโน่น นี่ก็หาหลักฐานมาแย้งกันหน่อย ยังไม่ยุติหรอก
5. ไม่มาจากไหน คนไทยอยู่ที่นี่ โดดเด่นมาก เพราะพบโครงกระดูกและวัฒนธรรมเก่าแก่มากมาย เช่น บ้านเชียง ถ้ำผี แสดงว่าเราอยู่นี่มานานแสนนาน แต่ยังไม่ชี้ชัดได้ว่า โครงกระดูกเหล่านั้นมีชื่อสกุลเป็นไทยหรือเปล่า

นักวิชาการเขาคงเถียงกันต่อไป นักเรียนก็ต้องตอบ 5 แนวคิดนะไม่งั้นตก เราชาวบ้านก็เอามารวมกันเป็นแกงโฮะ คือรวมๆ กันนั่นแหละ คนไทยมาจากหลายที่หลายแห่งมาผสมสายพันธุ์กันจนกลายเป็นไทยหลายพรรคการเมืองนี่ไง เนาะ

2011年6月14日星期二

ประวัติศาสตร์คืออะไร

คำว่า “ประวัติศาสตร์” ใช้กันใน 2 ลักษณะคือ

ประวัติศาสตร์ หมายถึง เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ หรือสร้างแนวความคิดไว้ทั้งหมด รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากเจตจำนงของมนุษย์ ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือธรรมชาติที่มีผลต่อมนุษยชาติ

ประวัติศาสตร์ ได้แก่ เหตุการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ได้สืบสวนค้นคว้าแสวงหาหลักฐานมารวบรวมและเรียบเรียงขึ้น เนื่องจากเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตมีขอบเขตกว้างขวาง และมีความสำคัญแตกต่างมากน้อยลดหลั่นกันไป นักวิทยาศาสตร์จึงหยิบยกขึ้นมาศึกษาเฉพาะแต่สิ่งที่ตนเห็นว่ามีความหมายและมีความสำคัญ

หลักฐานประวัติศาสตร์มีอะไรบ้าง

การแบ่งประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
๑) แบ่งตามยุคสมัย      
(๑) หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยที่ยังไม่มีการบันทึกเป็นอักษร แต่เป็นพวกซากโครงกระดูกมนุษย์ ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ตลอดจนความพยายามที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ในลักษณะของการบอกเล่าต่อๆกันมา เป็นนิทานหรือตำนานซึ่งเราเรียกว่า “มุขปาฐะ”
(๒) หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานสมัยที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ตัวอักษร และบันทึกในวัสดุต่างๆ มีร่องรอยที่แน่นอนเกี่ยวกับสังคมเมือง มีการรู้จักใช้เหล็ก และโลหะอื่นๆ มาเป็นเครื่องมือใช้สอยที่ปราณีต มีร่องรอยศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาอย่างชัดเจน

๒) แบ่งตามลักษณะหรือวิธีการบันทึก
(๑) หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ เอกสารทางวิชาการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม ตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ในการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีการเน้นการฝึกฝนทักษะการใช้หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร เป็นส่วนใหญ่ จนอาจกล่าวได้ว่าหลักฐานประเภทนี้เป็นแก่นของงานทางประวัติศาสตร์ไทย
(๒) หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เงินตรา หลักฐานจากการบอกเล่า ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” หลักฐานด้านภาษา เกี่ยวกับพัฒนาการของภาษาพูด หลักฐานทางศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ หลักฐานประเภทโสตทัศน์ ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพสไสด์ แผนที่ โปสเตอร์ แถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง ภาพยนตร์ ดวงตราไปรษณียากร

๓) แบ่งตามลำดับความสำคัญ
(๑) หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ (Primary sources) หมายถึง หลักฐานที่บันทึก สร้าง หรือจัดทำขึ้น โดยผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง หรือบ่งบอกให้รู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น สนธิสัญญา บันทึกคำให้การ จดหมายเหตุ กฎหมาย ประกาศของทางราชการ ศิลาจารึก จดหมายโต้ตอบ และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ภาพเขียนสีผนังถ้ำ เครื่องมือเคื่องใช้ เครื่องประดับ เจดีย์
(๒) หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ (Secondary sources) หมายถึง หลักฐานที่เกิดจากการนำหลักฐานชั้นต้นมาวิเคราะห์ ตีความเมื่อเวลาผ่านพ้นไปแล้ว ได้แก่ ตำนาน พงศาวดาร
นักประวัติศาสตร์บางท่านยังได้แบ่งหลักฐานประวัติศาสตร์ออกไปอีกเป็น หลักฐานชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (Tertiary sources) หมายถึง หลักฐานที่เขียนหรือรวบรวมขึ้น จากหลักฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาอ้างอิง เช่น สารานุกรม หนังสือแบบเรียน และบทความทางประวัติศาสตร์ต่างๆ